การจำแนกธาตุในพระศาสนา วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 30
หน้าที่ 30 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบริบทของพระศาสนา ภิกษุได้กำหนดและจำแนกธาตุตามอาการต่างๆ เช่น ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ โดยใช้หลักการสลักขณและสสัมภาร ซึ่งทั้งสองวิธีนี้เป็นเครื่องมือในการทำความเข้าใจลักษณะและการทำงานของธาตุต่างๆ ต่อการบรรลุจิตตภาวนาและอุปจารสมาธิ ตลอดจนการสะสมธาตุเพื่อให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในธรรมชาติ โดยการศึกษาเหล่านี้ช่วยให้ภิกษุเข้าถึงการปฏิบัติด้านจิตและกรรมในพระศาสนาได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการอธิบายคำศัพท์สำคัญที่เกี่ยวข้องกับธาตุต่างๆ เพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น

หัวข้อประเด็น

- การจำแนกธาตุ
- อาการและลักษณะของธาตุ
- ปฐวีธาตุ, อาโปธาตุ, เตโชธาตุ, วาโยธาตุ
- การเจริญจิตตภาวนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 30 ของธาตุนั้น ๆ) โดยสสัมภารวิภัติ (จำแนกโกฏฐาสแห่งธาตุนั้น ๆ ออก กำหนดอาการไปทีละอย่าง) โดยสลักขณสังเขป (สังเขป โกฏฐาสทั้งหลายเข้าเป็นหมู่ ๆ ตามลักษณะของธาตุนั้น ๆ) โดย สลักขณะวิภัติ (จำแนกโกฏฐาสแห่งธาตุนั้น ๆ ออก กำหนดลักษณะ ไปทีละอย่าง ) [เจริญโดยสสัมภารสังเขป] ในอาการ 4 นั้น เจริญโดยสสัมภารสังเขปอย่างไร ? ภิกษุ ในพระศาสนานี้กำหนดเอาอาการแขนแข็งในโกฏฐาส ๒๐ ว่าปฐวีธาตุ กำหนดเอาอาการซึมซาบ อันเป็นความเหลวกล่าวคือเป็นน้ำในโกฏฐาส ๑๒ ว่า อาโปธาตุ กำหนดเอาความร้อนอันเป็นเครื่องเผาไหม้ใน โกฏฐาส ๔ ว่าเตโชธาตุ กำหนดเอาอาการพัดไปมาในโกฏฐาส ๖ ว่า วาโยธาตุ เมื่อเธอกำหนดอยู่อย่างนั้นแหละธาตุทั้งหลายจะปรากฏได้ เธออาวัชนาการไปมนสิการไปซึ่งธาตุทั้งหลายนั้นแล้ว ๆ เล่า ๆ อุป จารสมาธิจะเกิดขึ้นตามนัยที่กล่าวแล้วนั้นแล ล่าวแล้วนั้นแล แต่เมื่อภิกษุใดเจริญไป * ศัพท์ สสมภาร สลักขณ เข้าใจยากอยู่บ้าง พิจารณาตามนัยมหาฎีกาเข้าใจว่าดังนี้ ธาตุ ๔ ชื่อว่าสัมภาร เพราะเป็นเครื่องรวบรวมหรือเลี้ยงรักษาไว้แห่งโกฏฐาสทั้งหลาย มีผมเป็นต้น ส่วนโกฏฐาสทั้งหลายนั้นชื่อว่าสสัมภาร เพราะเป็นไปกับสัมภารคือธาตุ เหล่านั้น หรือว่าเพราะมีอาการของธาตุนั้น ๆ อยู่ในตัว นัยเดียวกัน ธาตุ ๔ ชื่อว่าลักขณะ เพราะเป็นเครื่องกำหดนแห่งโกฏฐาส ทั้งหลาย (ว่าเป็นธาตุอะไร) ส่วนโกฏฐาสทั้งหลายชื่อว่าสลักขณะ เพราะเป็นไปกับ ลักขณะคือธาตุเหล่านั้น หรือว่าเพราะมีอาการของธาตุนั้น ๆ อยู่ในตัว สสัมภาร...กําหนดอาการ สลักขณ....กำาหนดลักษณะ.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More