ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 212
ฌานที่เป็นบาท) และเพราะอิงอาศัยทิพยวิหารของตน" (คืออาศัย
ทิพยวิหารเป็นนิสสยปัจจัย) บ้าง ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะมีแสงสว่าง
ใหญ่" เหตุกำหนดอาโลกกสิณ (ได้มา) บ้าง ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะ
ความมีที่ไปใหญ่" เหตุเห็นรูปอันอยู่ในที่ (กำบัง) มีที่นอกฝาเป็น
ต้นได้บ้าง คำว่า "ทิพพ" ทั้งปวงนั้น บัณฑิตพึงทราบ (อรรถ) ตาม
แนวคัมภีร์ศัพทศาสตร์นั้นเถิด
ญาณนั้นชื่อว่าจักษุ เพราะอรรถว่าเห็น ๔ อนึ่ง ชื่อว่าจักษุ
เพราะเป็นดังตา เหตุทำกิจของตา (คือเห็น)
(ญาณ) จักษุนั้น จัดว่าหมดจด เพราะเป็นเหตุแห่งทิฏฐิวิสุทธิ
ด้วยการเห็นทั้งจุติและอุปบาต เพราะว่าบุคคลใดเห็นแต่จุติอย่าเดียว
ไม่เห็นอุปบาต บุคคลนั้นย่อมยึดอุจเฉททิฏฐิ (ความเห็นว่าขาดสูญ)
บุคคลใดเห็นแต่อุปบาตข้างเดียว ไม่เห็นจุติ บุคคลนั้นย่อมยึดสัสสตา
ทิฏฐิ (ความเห็นว่าเที่ยง) ในเพราะความเกิดปรากฏขึ้นแห่งสัตว์ใหม่
๑. อตฺตนา เข้าใจคลาดเคลื่อน เพราะไม่มีที่จอด สำนวณนี้ท่านกล่าวมาหนหนึ่งแล้ว
ตอนแก้ทิพโสต (หน้า ๒๔๕) ที่นั่นเป็น อตฺตโน เข้าความดี ดังที่แปลไว้ ด้วยเหตุนี้
จึงแก้เป็น อตฺตโน
๒. มหาฎีกาว่า แม้แสงสว่างใหญ่ก็เรียกว่า ทิพย์ ได้ในคำว่า "ทิพฺพมิท พฺยมหิ
วิมานนี้สว่าง ?"
๓. มหาฎีกาติกตฺตา มหาฎีกาแก้เป็น มหนียคมนตฺตา วิมายนียกวฤติตตฺตา - เพราะมี
ความไปน่าบูชา คือเพราะเป็นไปอย่างน่าพิศวง
๔. เป็นอันว่ารู้กับเห็นนั้นอันเดียวกัน เพราะเหตุนั้น ญาณทัสสนะ จึงแปลว่า ความรู้
ความเห็น (ไม่ใช่แปลว่าเห็นด้วยญาณ)
๕. นวสตฺตปาตุภาวสฺสสตทิฏฐิ ชอบกล ! ท่านแสดงเหตุแห่งสัสสตทิฏฐิไว้ในตัวด้วย
เสร็จ แต่อุจเฉททิฏฐิ ท่านมิได้แสดงเหตุอระไรไว้ มหาฎีกาเลยต้องช่วยแสดงว่า "เพราะ
ไม่เห็นความเกิดต่อไป จึงเห็นว่าขาดสูญแค่นั้น"