อธิษฐานด้วยญาณในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 122
หน้าที่ 122 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้วิเคราะห์คำว่า 'อธิษฐานด้วยญาณ' ในวิสุทธิมรรค ซึ่งอธิบายกระบวนการที่ภิกษุใช้เข้าใจและสร้างอภิญญา โดยการเข้าฌานและบริกรรมซ้ำ จนสามารถบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ มีการพูดถึงการเข้าฌานที่ไม่จำเป็นต้องทำตามลำดับในกระบวนการฝึกจิตเพื่อการเจริญอภิญญา นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงความสงสัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างการแต่งวิสุทธิมรรคกับอรรถกถา

หัวข้อประเด็น

- อธิษฐานด้วยญาณ
- ฌานและอภิญญา
- การฝึกจิต
- การเข้าฌาน
- ความคิดเห็นเกี่ยวกับวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - [อธิษฐานด้วยญาณ] - หน้าที่ 122 ส่วนคำว่า "อธิษฐานด้วยญาณ" มีอธิบายว่า ภิกษุนี้นั้น ครั้น ยังธรรมอันเป็นภูมิ เป็นบท และเป็นมูล แห่งฤทธิเหล่านั้นให้ถึง พร้อมแล้ว เข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกแล้ว ถ้าต้องการ (ให้ต้นเป็น) ๑ ๑๐๐ คน ก็บริกรรมว่า "สต์ โหมิ สต์ โหมิ - เรา จงเป็น ๑๐๐ คน เราจงเป็น ๑๐๐ คน" แล้วเข้าฌานอันเป็นบาท แห่งอภิญญาอีก ออกแล้วจึงอธิษฐาน พร้อมกับจิตอธิษฐานนั่นเอง เธอก็เป็น ๑๐๐ คนขึ้นได้ นัยแม้ใน (การอธิษฐานให้เป็น) ๑,๐๐๐ คน เป็นต้น ก็ดุจนัยนี้ ถ้า (ทำ) อย่างนั้นยังไม่สำเร็จไซร้ จึงทำบริกรรม แล้วเข้า (ฌาน) เป็นวาระที่ ๒ ออกแล้วจึงอธิษฐานอีกก็ได้ เพราะใน อรรถกถาสังยุตนิกายกล่าวไว้ว่า "เข้าวาระหนึ่ง สองวาระก็ควร" ดัง นี้ ในการอธิษฐานนั้น จิตในฌานอันเป็นบาท มี (ปฏิภาค) นิมิตเป็น ด. อารมณ์ จิตในบริกรรมมีคนจำนวนร้อยเป็นอารมณ์ หรือมีคนจำนวน พันเป็นอารมณ์ (ตามที่ต้องการ) แต่ว่าอารมณ์เหล่านั้นก็เป็นแต่พรรณ มหาฎีกาว่า "อาจารย์ลางพวกกล่าวว่า "เข้าฌาน ๔ โดยลำดับ แล้วไปออกจาก จตุตถฌาน" คำของเกจิอาจารย์นี้ไม่ชอบ เพราะการฝึกจิต ประโยชน์อยู่ที่สามารถเข้า ฌานได้ตามปรารถนา (คือเข้าฌานไหนก็ได้ ไม่จำต้องเข้าตามลำดับ) และฌานที่เป็น บาทแห่งอภิญญาก็ได้แก่จตุตถฌานเท่านั้น ฌานนอกนี้หาเป็นบาทแห่งอภิญญาได้ไม่" ๒. มหาฎีกาว่า สามวาระหรือยิ่งไปกว่านั้นก็ได้ เพราะการเจริญอภิญญาก็เช่นเดียวกับ การเจริญฌาน (กี่วาระก็ไม่เห็นจะเสียอะไร ?) คำอรรถกถาที่ว่า วาระหนึ่ง สองวาระ ก็เป็นแต่นิทัสสนะ อนึ่ง ตามที่กล่าวกันว่า "พระพุทธโฆสะ แต่งวิสุทธิมรรคก่อนแต่งอรรถกถา" นั้น ถ้าคำนี้เป็นจริง ก็ไฉนจึงมีการอ้างถึงอรรถกถาเช่นนี้เล่า ?
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More