การศึกษาเกี่ยวกับความปฏิกูลในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 14
หน้าที่ 14 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงการสะท้อนถึงความปฏิกูลที่เกิดขึ้นในการกินอาหารและการทำความสะอาดมือ โดยมีการยกตัวอย่างถึงการล้างมือและอาการของความปฏิกูลที่เชื่อมโยงกับความรู้สึกทางจิต การศึกษาความปฏิกูลนี้ช่วยให้เข้าใจถึงการฝึกสมาธิและการอยู่ในปัจจุบัน การศึกษานี้ยังเน้นว่าความสะอาดและการกำจัดความปฏิกูลช่วยในการพัฒนาจิตใจและการปฏิบัติธรรม วิธีการทำความสะอาดที่เสนอเป็นส่วนสำคัญต่อการปฏิบัติในโยคะและการทำสมาธิภายใต้ภาพความเป็นจริงในพระพุทธศาสนา บุคคลที่ศึกษาจะเห็นความสำคัญของการกำจัดความปฏิกูลและปรับทัศนคติเกี่ยวกับอาหารและขึ้นอยู่กับตน

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการทำความสะอาด
- การทำความเข้าใจในความปฏิกูล
- บทบาทของอาหารต่อจิตใจ
- เทคนิคการทำสมาธิ
- การฝึกปฏิบัติตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 14 ข้าวลีบเป็นต้น ย่อมลอยขึ้นมาเปื้อนขอบปากหม้อข้าวและฝาละมี ฉะนั้น ซึ่งทวารเหล่านี้ที่มันเปื้อนเอาแล้ว แม้ล้างอยู่ทุกวันก็ยังเป็น สิ่งไม่สะอาดไม่น่าขอบใจอยู่นั่น ในทวารทั้งหลายไรเล่า เพราะล้าง ทวารลางอย่างเข้า มือก็เป็นสิ่งที่จำต้องล้างด้วยน้ำอีกที เพราะล้าง ทวารลางอย่างแล้ว มือนั้นฟอกด้วยโคมนัยบ้าง ด้วยดินบ้าง ด้วย ฝุ่นหอมบ้างตั้ง ๒-๓ ครั้ง จึงหายจากความปฏิกูล" [อาหารเรปฏิกูลสัญญาฌาน] 09 เมื่อโยคางจรภิกษุนั้น พิจารณาเห็นความปฏิกูลโดยอาการ อย่างนี้ ทำจนเป็นตักกาหตะ (ตรึกเอามาได้) วิตักการตะ (ตร เอามาได้) อยู่ กพฬิงการาหารย่อมจะปรากฏโดยอาการปฏิกูล เธอ ส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ๆ เล่า ๆ เมื่อเธอทำไป อย่างนั้น นิวรณทั้งหลายจะรำงับ จิตจะตั้งมั่น โดยอุปจารสมาธิ อัน ไม่ถึงอัปปนา เพราะความที่กพฬิงการาหารเป็นสภาพลึก โดยความ * - ปกจะในวิสุทธิมรรค พิมพ์ครั้งที่ ๓ พิมพ์ไว้เป็น ปาฏิกุลยตา น ววิคจฺฉติ - ความ ปฏิกูลไม่หาย เข้าใจว่าคลาดเคลื่อน ที่ถูกจะเป็น ปาฏิกุลยตาย วิคจฺฉติ เพราะถึงจะ เป็นมือล้างทวารหนัก เมื่อได้ฟอกถึง ๓ ครั้งก็ควรจะหายปฏิกูลแล้ว แม้ในวิสุทธิมรรค แปลร้อย สมาธินิเทศ พิมพ์ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๗๒ หน้า ๒๕๓ ก็พิมพ์ไว้ว่า "ต้องสี ด้วยโคมัย สีด้วยดิน สีด้วยคุณของหอม จึงปราศจากปฏิกูล " ดังนี้ ๓ ถึงกระนั้น ความที่ว่า "มือหายจากความปฏิกูล" นั้นก็ฟังดูไม่สู้จะแยบคาย เพราะที่จริงนั้น "ความปฏิกูลหายไปจากมือ" ต่างหาก ถ้าจะเป็นอย่างนี้ ปาฐะก็ต้อง เป็น "ปาฏิกุลยตา ววิคจฺฉติ" และเมื่อเป็นดังนี้ ปาฏิกุลยตา ย่อมเป็นประธายของ ประโยต โธวิโต (หตุโก) ก็เก้อ หาที่จอดไม่ได้ ถ้าจะให้เข้ารูปประโยคได้ ก็ต้อง ทำเป็นลักษณะ คือ เป็น โธวิเต อย่างนี้ดูจะแยบคายดีกว่าอย่างอื่นด้วยซ้ำไป
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More