ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 26
[ภาวนานัย - วิธีภาวนา]
[สังเขปนัย]
ส่วนวินิจฉัยในภาวนานัยในธาตุกรรมฐานนี้ (พึงทราบดังนี้)
สำหรับภิกษุผู้มีปัญญากล้า การกำหนดธาตุโดยพิสดาร (แจก
ไปตามอาการ ๔๒ ) ว่า "เกสา ปฐวีธาตุ ผมทั้งหลายเป็นธาตุ
ดิน โลมา ปฐวีธาตุ - ขนทั้งหลายเป็นธาตุดิน " ดังนี้เป็นต้น จะ
ปรากฏเป็นชักช้าไป แต่เมื่อเธอมนสิการ (แต่โดยลักษณะ) ว่า
"สิ่งที่มีลักษณะกระด้าง เป็นธาตุดิน สิ่งที่มีลักษณะซึมซาบ เป็น
ธาตุน้ำ สิ่งที่มีลักษณะร้อน เป็นธาตุไฟ สิ่งที่มีลักษณะไหวตัวได้
เป็นธาตุลม" ดังนี้ กรรมฐานก็จะปรากฏแล้ว ส่วนสำหรับภิกษุ
ผู้มีปัญญาไม่กล้านัก เมื่อมนสิการ (โดยย่อ) อย่างนั้น กรรมฐาน
ย่อมมืดไป ไม่ชัดแจ้ง ต่อมนสิการอย่างพิสดาร โดยนัยก่อน กรรมฐาน
จึงจะปรากฏ ความข้อนี้มีอุปมาอย่างไร ? มีอุปมาว่า เมื่อภิกษุ
๒ รูปสาธยายแบบ (บาลี) ที่มีไปยาลมากอยู่ ภิกษุรูปที่มีปัญญา
กล้า ยังไปยาลมุข (คือตัวเต็ม) ให้พิสดาร (คือสวดเต็ม)
จบอหนึ่งหรือสองจบแล้ว ต่อนั้นไปก็ทำสาธยายแต่โดยเงื่อนทั้งสอง
(คือต้นกับปลาย) ไป ในเธอ ๒ รูปนั้น รูปที่มีปัญญาไม่กล้านัก
จะเป็นผู้กล่าวอย่างนี้ว่า "นั่นได้ชื่อว่าสาธยายอะไรกัน ไม่ให้ทำ
มาตาว่าริมฝีปากกระทบกัน (คือสวดละละไป) ไม่ทันไรก็จบเสียแล้ว
ราวะว่าริมฝีปากยังไม่ทันกระทบกัน) เมื่อทำสาธยายวิธีนี้ สักเมื่อไร
* ปาฐะพิมพ์ไว้ว่า วุตตา ผิด ที่ถูกเป็น วตฺตา