ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 148
ในขณะเดียวกัน” นัยหนึ่ง นับว่ามีฤทธิ์มาก โดยจรไปเหนือ
(ปฐพี) และทำความสว่างอย่างนั้นได้ ชื่อว่ามีอานุภาพมาก ก็
โดยความมีฤทธิ์มากนั้นนั่นเอง” บทว่า ปรามสติ แปลว่าจับ หรือ
แตะต้องในเอกเทส (แห่งดวงจันทราทิตย์) บทว่า ปริมชฺชติ คือลูบคลำ
ไปโดยรอบ ดังลูบหน้าแว่น (ส่องหน้า)
ก็ฤทธิ์นี้ ย่อมสำเร็จแก่ภิกษุผู้มีฤทธิ์นั้น ด้วยอำนาจแห่งฌาน
อันเป็นบาทแห่งอภิญญาเท่านั้น ความนิยมด้วยกสิณสมาบัติมามีใน
ฤทธิ์ข้อนี้ไม่ สมบาลีในปฏิสัมภิทาว่า "ในข้อว่า "จับต้องลูบคลำ
จันทร์และสูรย์นี้ ฯลฯ ก็ได้" นี้ ความว่า ภิกษุผู้มีฤทธิ์ได้เจโตวสี
นั้น อาวัชนาการถึงจันทร์และสูรย์ ครั้นแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
"จันทร์และสูรย์) จงมี (คือมาอยู่) ในหัตถบาลี" (จันทร์และ
สูรย์) ก็มีในหัตถบาส เธอผู้นั่งอยู่หรือนอนอยู่ก็ตาม ก็จับต้อง
ลูบคลำจันทร์และสูรย์ด้วยฝ่ามือได้ มนุษย์ทั้งหลายผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปกติ
ย่อมจับต้องลูกคลำสิ่งที่เป็นรูปอะไร ๆ (อันอยู่) ในหัตถบาสได้ฉันใด
ภิกษุผู้มีฤทธิ์ได้เจโตวสีนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมจับต้องลูบคลำจันทร์
๑. มหาฎีกาอธิบายเป็นที่ว่า ไม่ใช่สว่างเท่ากันทั้งสามทวีป ถ้าส่องแวงเจ้าอยู่กลางทวีป
หนึ่ง อีกทวีปหนึ่งจะเห็นเป็นกำลังอัสดง อีกทวีปหนึ่งเห็นเป็นกำลังอุทัย
๒. มหาฎีกาช่วยคิดแถมว่า ชื่อว่ามีอนุภาพมาก โดยพระอาทิตย์รำงับความหนาว พระจันทร์
รำงับความร้อนของสัตว์ทั้งหลายได้ และช่วยทำต้นไม้ใบหญ้างอกงามเจริญ
๓. หัตถบาส แปลว่า บ่วงมือ คือใกล้ตัว พอยื่นมือไปจับได้