การฝึกฝนจิตโดยอาการ ๑๔ ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 87
หน้าที่ 87 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้มีการอธิบายถึงการฝึกฝนจิตโดยอาการ ๑๔ ซึ่งรวมถึงวิธีการต่างๆ ในการฝึกจิตตามลำดับของกสิณและฌานที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งข้อแนะนำเกี่ยวกับการวางแนวทางเพื่อการเข้าถึงสมาบัติ ทั้งนี้ยังมีการอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกำหนดกสิณและความสำคัญของอาโลกกสิณ และข้อบกพร่องในปาฐะที่ระบุไว้ในวิสุทธิมรรค ถ้ามีการเข้าใจผิดในศัพท์ ทำให้การศึกษาเป็นไปอย่างผิดพลาดได้ เว็บไซต์ dmc.tv เป็นแหล่งข้อมูลเพื่อการศึกษาเพิ่มเติมในด้านนี้.

หัวข้อประเด็น

-ข้อสำคัญในการฝึกจิต
-อาการ ๑๔ ในวิสุทธิมรรค
-ความแตกต่างระหว่างกสิณและฌาน
-สมาบัติในกสิณ
-ปาฐะและการเข้าใจศัพท์ในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 87 มีโอทาตกสิณเป็นข้อสุดท้ายให้เกิด" ฝึกฝนจิตโดยอาการ ๑๔ นี้ คือ กสิณานุโลมโต โดยตามลำดับกสิณ กสิณปฏิโลมโต โดยย้อนลำดับกสิณ กสิณานุโลมปฏิโลมโต โดยทั้งตามลำดับ ทั้งย้อนลำดับกสิณ ฌานานุโลมโต โดยตามลำดับฌาน ฌานปฏิโลมโต โดยย้อนลำดับฌาน ฌานานุโลมปฏิโลมโต โดยทั้งตามลำดับ ทั้งย้อนลำดับฌาน ฌานุกฺกนฺตกโต โดยข้ามฌาน กสิณฺกุกนฺตกโต โดยข้ามกสิณ ฌานกสิณุกฺกนฺตาโต โดยข้ามทั้งฌานทั้งกสิณ องฺคสงฺกนฺติโต โดยเลื่อนองค์ฌาน อารมฺมณสงฺกนฺติโต โดยเลื่อนอารมณ์ องฺคารมฺมณสงฺกนฺติโต โดยเลื่อนทั้งองค์ทั้งอารมณ์ องฺคววฏฺฐาปนโต โดยกำหนดดูองค์ โดยกำหนดดูอารมณ์ อารมฺมณววฏฺฐาปนโต ๑. หมายความว่าจะเข้าสมาบัติในกสิณข้อไหน ก็ให้ทำสมาบัติให้เกิดครบ ๘ (คือตั้งแต่ ปฐมฌาน จนถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะ) ทุกข้อไป อนึ่ง มหาฎีกาว่า ที่กำหนดกสิณเพียงโอทาตาริณ เพราะอากาสกสิณทำให้เกิด อรูปสมาบัติไม่ได้ ส่วนอาโลกกสิณ นับรวมเข้าในโอทาตกสิณ ได้ ๒. ปาฐะในวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น ฌานานุกฺกนฺตกโต นั้นคลาดเคลื่อน เพราะศัพท์นี้ แยกเป็น ฌาน + อุกฺกนฺตก แม้ปาฐะต่อ ๆ ไปก็พึงทราบตามนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More