วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - ธาตุในร่างกาย วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 57
หน้าที่ 57 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการกำหนดธาตุในร่างกาย เช่น ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม โดยการใช้วิธีการต่างๆ ในการพิจารณาและทำความเข้าใจธรรมชาติของธาตุทั้งหลาย เพื่อให้เกิดอุปจารสมาธิ ซึ่งช่วยให้ผู้ฝึกปฏิบัติสามารถเจริญสติและเห็นความแตกต่างของธาตุได้อย่างชัดเจน โดยมีการกล่าวถึงการกำหนดโดยอาการต่างๆ และความสัมพันธ์ระหว่างธาตุภายในกับธาตุภายนอก สำหรับผู้ที่สนใจในด้านการปฏิบัติและปรัชญา

หัวข้อประเด็น

-การพิจารณาธาตุ
-สมาธิและการกำหนด
-ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุ
-ธรรมชาติของธาตุในร่างกาย
-วิสุทธิมรรคและการฝึกปฏิบัติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 57 ซึมซาบในผมนั้นแหละว่า ธาตุน้ำ จึงกำหนดดูลักษณะที่ร้อนในผม นั้นแหละว่า ธาตุไฟ จึงกำหนดดูกลักษณะที่เขยื้อนได้ในผมนั้นแหละว่า ธาตุลม จึงกำหนดดูธาตุ ๔ ๆ ในโกฏฐาส ๑ ๆ ไปทุกโกฏฐาสอย่างนี้ เมื่อเธอกำหนดไปอย่างนั้น ธาตุทั้งหลายย่อมจะปรากฏ อุปจารสมาธิ ย่อมจะเกิดขึ้นแก่เธอผู้อาวัชนาการไป นมสิการไป ซึ่งธาตุทั้งหลาย นั้น แล้ว ๆ เล่า ๆ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล [มนสิการ โดยอาการ ๑๓ ก็ได้ ก็แลอีกนัยหนึ่ง จึงมนสิการธาตุทั้งหลายโดยอาการเหล่านี้ก็ได้ โดยความของคำ คือ วจนฏฺฐโต กลาปโต โดยกลาป (คือเป็นกลุ่ม) จุณฺณโต โดย (ย่อมให้) เป็นจุณ ลกฺขณาทิโต โดยอาการมีลักษณะเป็นต้น สมุฏฺฐานโต นานตฺเตกตฺตโต โดยความต่างกันและความเป็นอัน โดยสมุฏฐาน เดียวกัน วินิพโภคาวินิพโภคโต โดยแยกกันได้และแยกกันมิได้ สภาควิสภาคโต โดยที่เข้ากันได้แลเข้ากันไม่ได้ อรุณฤติกพาหิรวิเสสโต โดยความแปลกกันแห่งธาตุภายใน กับธาตุภายนอก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More