วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 113
หน้าที่ 113 / 244

สรุปเนื้อหา

ในเนื้อหานี้มีการอภิปรายเกี่ยวกับความสำเร็จของกรรมนั้น ๆ ตามการปฏิบัติที่ถูกต้อง และเฉพาะเจาะจง โดยท่านได้ยกตัวอย่างถึงความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการละกิเลสต่าง ๆ และความมีผลของการประกอบกิจที่ดี นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงแบบแผนการจัดการศิลปกรรมและการฝึกอบรมอย่างต่าง ๆ ซึ่งสัมพันธ์กับการทำสงครามและความชำนาญในทางยุทธศาสตร์ด้วย ซึ่งวิสุทธิมรรคนี้ให้แสงสว่างในการเข้าใจถึงความสำคัญของการปฏิบัติและการมีเจตนาที่ถูกต้องในกิจกรรมต่าง ๆ

หัวข้อประเด็น

-ความสำเร็จในกรรม
-การละกิเลส
-การปฏิบัติที่ถูกต้อง
-ศิลปกรรม
-ยุทธวิธีในการต่อสู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

- ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 113 [๑๐ ตตฺถ ตตฺถ...อิชฌนฏเจน อิทธิ] ส่วนว่าความสำเร็จแห่งกรรมนั้น ๆ เพราะความประกอบชอบ นั้น ๆ ชื่อว่า ตตฺถ ตตฺถ สมมาปโยคปจฺจยา อิชฌนฏฺเฐน อิทธิ - ฤทธิโดยความหมายว่าสำเร็จ เพราะประกอบชอบในกิจนั้น ๆ เป็น ปัจจัย ดังพระบาลีว่า "ผลคือการละกามฉันท์ ย่อมสำเร็จด้วยเนกขัมมะ ๆ เพราะเหตุนั้น ผลนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ โดยความหมายว่าสำเร็จ เพราะ ประกอบชอบในกิจนั้น ๆ เป็นปัจจัย ฯลฯ ผลคือการละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จด้วยอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น ผลนั้นจึงชื่อว่าฤทธิ์ โดย ความหมายว่าสำเร็จ เพราะประกอบชอบในกิจนั้น ๆ เป็นปัจจัย" ก็บาลีมาในนิเทศแห่งฤทธิข้อที่ ๑๐ นี้ ก็เป็นเช่นเดียวกับบาลีใน นิเทศแห่งฤทธิข้อก่อน ๆ (มีสมาธิวิปผาราอิทธิเป็นต้น) โดยแสดง สัมมาปโยค ที่ได้แก่การปฏิบัติเหมือนกัน แต่มาในอรรถกถาว่า "ความ วิเศษที่เกิดขึ้นเพราะทำการนั้น ๆ คือศิลปกรรม (แสดงฝีมือ) อย่างใด อย่างหนึ่ง โดยสามารถทำพยุหะ (ค่ายกล ?) มีสกฏพยุหะ (กลกอง เกวียน ?) เป็นต้น" เวชกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง การเรียนไตรเพท ๑. ขุ. ป. ๓๑/๖๐๑. ๒. ตรงนี้มหาฎีกาแก้ สกฏพยูหาที่กรณ เป็นการจัดพยุหะต่าง ๆ มี สกฏพยุหะ จักร พยูหะ และปทุมพยูหะเป็นต้น พยุหะต่าง ๆ นี้ น่าจะมีพรรณนาไว้ในตำราพิชัยสงคราม หรือตำราตั้งค่ายกล ซึ่งจะต้องใช้เวลาไปค้น เวลานี้ได้พบแต่คำอธิบายปทุมพยุหะ ว่า ไว้ย่อ ๆ ว่า ยุทธวิธีแบบหนึ่ง จัดพลรบเป็นแนวรูปวงกลมซ้อนกันเป็นชั้น ๆ อย่างกลีบ ปทุม. และมหาฎีกาบอกสัมพันธ์ไว้ว่า บทสกฎ...วเสน นี้ เข้ากับบท นิพฺพตฺตวิเสโส เห็นว่าไกลไป ที่จริงเป็นตติยาวิเสสนะในบท สิปปกมุม ใกล้ ๆ นั่นเอง เพราะท่าน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More