การวิเคราะห์ธาตุในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 22
หน้าที่ 22 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เกี่ยวกับการตีความธาตุตามหลักวิสุทธิมรรค โดยเจาะลึกถึงการจำแนกธาตุอย่างละเอียด เช่น ปฐวีธาตุ และอาโป รวมถึงการอธิบายลักษณะและอำนาจต่าง ๆ ของธาตุ ซึ่งเน้นการเข้าใจในภาวะการทำงานของธาตุทั้งสามอย่างชัดเจน อาทิเช่น ความซึมซาบและความร้อนในแต่ละธาตุ โดยอิงจากหลักการของพระพุทธศาสนาและการแปลความหมายทางพระธรรมของท่านในแต่ละแง่มุม

หัวข้อประเด็น

- การวิเคราะห์ธาตุ
- ปฐวีธาตุ
- อาโป
- เตโช
- หลักการในวิสุทธิมรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 22 บทว่า เสยฺยถีท เป็นนิบาต นิบาตนั้น มีความว่า "หาก ถามว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างไร" ต่อนั้น ท่านจะแสดง (ตอบ) ความที่ ถามนั้น จึงกล่าวคำต่อไปว่า เกสา โลมา เป็นอาทิ ก็ในปฐวีธาตุ นิเทศนี้ พึงทราบว่าท่านแสดงปฐวีธาตุโดยอาการ ๒๐ เพราะเติม มัตถลุงค์เข้า ด้วยคำว่า "ย์ วา ปนญฺญมปิ กิญจิ หรือแม้สิ่งใด สิ่งหนึ่งอื่นอีก " เป็นอันท่านสงเคราะห์เอา (สิ่งที่เป็น) ปฐวีธาตุ (อันพึงมีอยู่) ในส่วน (แห่งธาตุ) ๓ ที่เหลือด้วย [อาโป] สิ่งใดเอิบอายไปได้ คือไปถึงที่นั้น ๆ ได้ โดยภาวะคือไหลไป เหตุนั้น สิ่งนั้นจึงชื่อว่า อาโป สิ่งใดในอาโปทั้งหลาย อันมี ประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐานมีกรรมสมุฏฐานเป็นต้น เหตุนี้ สิ่งนั้นจึงชื่อ อาโปคต สิ่งนั้นได้แก่อะไร ? สิ่งนั้นได้แก่ลักษณะ คือความซึมซาบได้แห่งอาโปธาตุ [เตโช] สิ่งที่ชื่อว่า เตโช เพราะอำนาจแห่งความเป็นเครื่องทำให้ร้อน สิ่งใดไปในแต่เตโชทั้งหลายโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล เหตุนั้น จึงชื่อว่า ๑. หมายความว่า สิ่งที่นับเป็นปฐวีธาตุ เท่าที่จำแนกไว้เป็น ๑๕ อาการ มีผมเป็นต้น มีอาหารเก่าเป็นปริโยสานนั้น เป็นการจำแนกแต่อาการที่ปรากฏชัดเท่านั้น แต่ที่จริง สิ่งที่นับเป็นปฐวีธาตุปนอยู่ในส่วนธาตุอื่นอีกก็มี เป็นอันนับเอาเป็นปฐวีธาตุด้วยหมดนั่น ๒. เตชนวเสน เตชน นี้มหาฎีกาให้แปลว่า คม. ๓. คือนัยตอนที่แก้อาโป ที่ว่า "มีประการต่าง ๆ ด้วยอำนาจแห่งสมุฏฐาน ..."
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More