วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - พระผู้มีพระภาคเจ้า วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 133
หน้าที่ 133 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเล่าเกี่ยวกับพระผู้มีพระภาคเจ้าและพระมหาโมคคัลลานเถระที่บังคมพระบาทของพระองค์ โดยมีการสื่อสารถึงเมืองสังกัสสะและคำบอกจากพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงการมาที่เมืองในวันเพ็ญมหาปวารณาและวันอุโบสถ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงอาวิภาวปาฏิหาริย์ของพระมหาโมคคัลลานและการเตือนผู้คนให้เตรียมตัวออกเดินทางอย่างเหมาะสม ซึ่งยืนยันถึงความสัมพันธ์ของเจตนารมณ์ในพระธรรมคำสอนที่มีต่อผู้คนในชมพูทวีป

หัวข้อประเด็น

-การบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า
-พระมหาโมคคัลลานเถระ
-การเดินทางไปเมืองสังกัสสะ
-คำสอนและการปฏิบัติในวันเพ็ญมหาปวารณา
-อาวิภาวปาฏิหาริย์ของพระเถระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 133 บังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระเถระก็ดำลงไปในมหาปฐพีที่ตรงท่าม กลางหมู่คนนั่นเอง แล้ว (ไป) ชำแรกเขาสิเนรุ (อยู่ในท่า) ถวายบังคม พระบาทยุคลพระผู้มีพระภาคเจ้า โผล่ขึ้นแทบบาทมูลของพระตถาคต เจ้าทีเดียว” กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ชนชาวชมพูทวีปถวายบังคมพระบาทบุคลพระผู้มีพระภาคเจ้า (มา) พูด กันว่า "เราทั้งหลายได้เห็น (พระองค์) แล้วนั่นแหละจึงจัก (กลับ) ไป" พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส (ถาม) ว่า "โมคคัลลาน ก็เดี๋ยวนี้ ธรรมเสนา บดี พี่ชายท่าน (อยู่) ที่ไหน" กราบทูลว่า "(อยู่) ที่เมืองสังกัสสะ พระพุทธเจ้าข้า " จึงรับสั่งว่า "โมคคัลลาน ชนเหล่าใดใคร่จะเห็นเรา ชนเหล่านั้นจงมาสู่เมืองสังกัสสะในวันพรุ่งนี้ เราจักลงที่เมืองสังกัสสะ ในวันพรุ่งนี้ อันเป็นวันเพ็ญมหาปวารณาและเป็นวันอุโบสถ"" พระ เถระรับรับสั่ง ถวายบังคมพระทศพลเจ้าแล้ว (กลับ) ลงมาตามทางที่มา นั้นแล จนถึงที่พักของคนทั้งหลาย ท่านอธิษฐานอย่างที่คนทั้งหลาย เห็นท่านได้ทั้งเวลาไปและมา พระมหาโมคคัลลานเถระได้ทำอาวิภาว ปาฏิหาริย์นี้ในตอนนี้ก่อน ท่านมาถึงอย่างนั้นแล้วจึงแจ้งข่าวนั้น (ให้ ทราบทั่วกัน) กล่าว (กำชับ) ว่า "ท่านทั้งหลายอย่าได้สำคัญว่าไกล พอรับประทานอาหารเช้าแล้วจงออก (เดินทาง)เถิด" พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบอก (ลา) แก่ท้าวสักกะเทวราชว่า "ดูกร ๑. หมายความว่า โผล่ขึ้นมาทั้งท่าถวายบังคม และโผล่ขึ้นตรงที่ ตรงที่ใกล้พระบาท ได้ระยะ ถวายบังคมพอเหมาะทีเดียว หาใช่ไปโผล่เอาที่ไหน ๆ ต้องเดินมาถวายบังคมไม่ ๒. บทเดียว ท่านเรียงไว้ทั้งมหาปวารณา ทั้งอุโบสถ ซึ่งเป็นคนละความหมาย จึงเข้าใจ ว่า เป็นทวันทวสมาส ดังแปลไว้นั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More