ข้อความต้นฉบับในหน้า
*
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 115
ที่จะพึงบรรลุ ปาฐะว่า "โส" นั้น ได้แก่ภิกษุผู้มีการนำจิตมุ่งไป ได้
กระทำแล้วอย่างนั้น บทว่า อเนกวินิต แปลว่าหลายอย่างต่างประการ
บทว่า อิทธิวิธ แปลว่า ส่วน (หนึ่ง) แห่งฤทธิ์ บทว่า ปจฺจนโภติ
ความว่าได้เสวย คือได้ถูกต้อง ได้ทำให้แจ้ง ได้บรรลุ
[พหุภาวปาฏิหาริย์ - ทำคนเดียวให้เป็นคนมาก]
หุตวา
ต่อนี้ เมื่อจะทรงแสดงความที่อิทธิวิธะนั้นมีหลายอย่าง ตึงตรัส
คำว่า เอโกปิ เป็นอาทิ ในคำเหล่านั้น คำว่า เอโกปิ หุตฺวา
คือโดยปกติก่อนแต่ทำฤทธิ์ (เธอ) ก็เป็นคนเดียวนั่นแหละ คำว่า พหุธา
โหติ หมายความว่า (เธอ) เป็นผู้ใคร่จะจงกรม หรือใครจะทำการ
สาธยาย หรือใครจะถามปัญหาก็ดี ในที่ใกล้ภิกษุมากรูป ก็ (นิรมิต
กายตนขึ้น) เป็น ๑๐๐ › รูปก็ได้ เป็น ๑,๐๐๐ รูปก็ได้
[อิทธิวิธี]
ถามว่า ก็ภิกษุนี้จะเป็นอย่างนั้นได้ด้วยวิธีอย่างไร ? ตอบว่า
เธอยังภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์ และบาท ๔ บท 4 มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์ให้ถึง
พร้อมแล้ว อธิษฐานด้วยญาณไป ย่อมเป็นอย่างนั้นได้
[ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ]
ในวิธีเหล่านั้น ฌาน ๔ พึงทราบว่า (เรียกว่า) ภูมิ ๔ จริงอยู่
มหาฎีกาช่วยขยายความว่า ภิกษุมากรูปที่ว่านี้ก็คือ ภิกษุที่ตนนิรมิตขึ้นนั่นเอง คือ
นิรมิตภิกษุขึ้นมาก ๆ แล้วตัวเองก็เดินจงกรม...อยู่ในหมู่ภิกษุนิรมิตนั้น