วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 2
หน้าที่ 2 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความเข้าใจในกพฬิงการาหารที่มีภัยเฉพาะในประเด็นต่างๆ ของอาหาร ผ่านการสื่อสารด้วยพระโอวาท ทั้งยังชี้แนะแนวทางในการพิจารณาความปฏิกูลในอาหาร ๔ ประเภท เช่น ของกิน ของดื่ม และอื่นๆ โดยยกตัวอย่างและแนวคิดที่สำคัญในการเจริญกรรมฐาน สู่การตั้งอยู่ในสติและมีสำนึกของการบริโภคอย่างมีสติ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในทางการปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา

หัวข้อประเด็น

-กพฬิงการาหาร
-ความปฏิกูลในอาหาร
-พระโอวาท
-กรรมฐาน
-อาหาเรปฏิกูลสัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 2 กพฬิงการาหาร ภัยคือความเข้าไปหา ย่อมมีในเพราะผัสสาหาร ภัยคือความเข้าถึง (คือเกิด) ย่อมมีในเพราะมโนสัญเจตนาหาร ภัยคือปฏิสนธิ ย่อมมีในเพราะวิญญาณาหาร ก็แลในอาหารทั้งหลาย อันมีภัยจำเพาะอย่างนี้นั่น กพฬิงการาหาร จึงควรชี้แจงด้วยพระโอวาท ที่เปรียบอาหารด้วยเนื้อบุตร ผัสสาหาร ควรชี้แจงด้วยพระโอวาทที่ เปรียบผัสสะด้วยโคถูกหนัง มโนสัญเจตนาหาร ควรชี้แจงด้วย พระโอวาทที่เปรียบภพด้วยหลุมถ่านเพลิง วิญญาณหารควรชี้แจง ด้วยพระโอวาทที่เปรียบวิญญาณด้วยหอกหลาว แล [อาหารที่ประสงค์เอาในกรรมฐานนี้ แต่ในอาหาร ๔ นี้ กพฬิงการาหารอันแยกประเภทเป็นของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม เท่านั้น ท่านประสงค์เอาว่าอาหารในความ ข้อนี้ ความหมายรู้อันเกิดขึ้น โดยที่ถือเอาอาการที่ปฏิกูลในอาหารนั้น ชื่ออาหาเรปฏิกูลสัญญา พระโยคาวจรผู้ใคร่จะเจริญอาหารเรปฏิกูลสัญญา นั้น พึงเรียนเอากรรมฐานได้แล้ว (จำไว้) มิให้ผิดจากที่เรียกมา แม้แต่บทเดียว ไปในที่ลับ (คน) เร้นอยู่ (คนเดียว) แล้วจึง พิจารณาดูความปฏิกูลในกพฬิงการาหารอันแยกเป็นของกิน ของดื่ม ของเคี้ยว ของลิ้ม โดยอาการ ๑๐ อาการ ๑๐ นี้ คืออะไรบ้าง คือ คมนโต โดยการเดินไป ปริเยสน โต โดยการแสวงหา ปริโภค โต โดยการบริโภค
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More