วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงอานิสงส์ของการเจริญอัปปนาสมาธิในพระพุทธศาสนา โดยมีอภิญญาเป็นเครื่องหมายแสดงความก้าวหน้า การทำให้แจ้งด้วยอภิญญาเพื่อเข้าถึงความรู้ยิ่ง ทั้งยังชี้ให้เห็นถึงการมีภพวิเศษจากการฝึกสมาธิที่ไม่เสื่อมลง การบรรลุอภิญญาผู้ที่ถือปฏิบัติอย่างจริงจังจะสามารถเข้าใจและประจักษ์ในธรรมที่ลึกซึ้งได้เมื่อมีเหตุการณ์ที่พร้อม

หัวข้อประเด็น

-อภิญญา
-สมาบัติ
-อธิษฐาน
-อานิสงส์
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 81 บาทแห่งอภิญญา (ความรู้ยิ่ง) ออกจากสมาบัติแล้ว ปรารถนาอยู่ ก็ทำอภิญญาอันมีนัยที่กล่าวไว้โดยประการว่า "เป็นคนเดียวแล้ว (อธิษฐานให้) เป็นมากคนก็ได้" ดังนี้เป็นต้นให้เกิดขึ้นได้ การเจริญ อัปปนาสมาธิแห่งภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่ามีอภิญญาเป็นอานิสงส์ เพราะ สมาธินั้น ในเมื่อเหตุ (ที่จะให้ได้อภิญญา) มีพร้อมอยู่ เป็นปทัฏฐาน แห่งอภิญญาได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "เธอ น้อมจิตไปเฉพาะเพื่อทำให้แจ้งด้วยอภิญญา ซึ่งธรรมอันพึงทำให้แจ้ง ด้วยอภิญญาใด ๆ ก็ดี เธอก็บรรลุความเป็นผู้อาจเพื่อทำให้ประจักษ์ได้ ในอภิญญาสัจฉิกรณียธรรมนั้น ๆ ทีเดียว ในเมื่อเหตุ (ที่จะให้ได้ อภิญญา) มีพร้อมอยู่" [มีภพวิเศษเป็นอานิสงส์] (๔) บุถุชนเหล่าใดมีฌานไม่เสื่อม ปรารถนาความเข้าถึง พรหมโลก ว่าเราจักเกิดในพรหมโลก หรือแม้ไม่ปรารถนาก็ตาม (แต่) ไม่เสื่อมจากสมาธิ การเจริญอัปปนาสมาธิแห่งบุถุชนเหล่านั้น ชื่อว่ามี ภพวิเศษเป็นอานิสงส์ เพราะสมาธินั้นนำภพวิเศษมาให้ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า "ถามว่า บุคคลทั้งหลายบำเพ็ญปฐม ๑. มหาฎีกาว่า อายตนะ ในที่นี้หมายถึงเหตุที่จะให้ได้อภิญญา อันสำเร็จมาแต่ชาติก่อน เพราะว่าผู้จะได้อภิญญานั้นต้องเป็นคนมีอธิการ (คือบุญบารมี) ซึ่งลางทีก็เรียก "ปุพเพ เหตุ" มิใช่ได้เพราะความเชี่ยวชาญในสมาบัติ ๒. อง, ตึก, ๒๐/๓๓๑.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More