ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 218
ในหมู่บ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง ท่านทั้งสองนั้นได้ยาคูยังร้อนประมาณ
กระบวยหนึ่ง ในเรือนหลักแรกทีเดียว พอลมในท้องของพระเถระ
เสียดขึ้น ท่านจึงคิดว่า "ยาคูนี้ เป็นของสัปปายะสำหรับเรา เราจะ
ดื่มมันเสียแต่เวลามันยังไม่เย็นเถิด " ดังนี้แล้ว ท่านจึงนั่งลงที่ท่อนไม้
ซึ่งคนทั้งหลายนำมาเพื่อ (จะทำ) ธรณีประตู แล้วดื่ม (ยาคูนั้น)
ข้างฝ่ายอีกรูปหนึ่ง รังเกียจท่าน (ที่นั่งลงฉันกลางหมู่บ้างเช่นนั้น)
ก็ว่าเอาว่า "คนแก่ หิวจัดเต็มที่ (ละซิ) จึงได้ทำความขายหน้าถึง
เราด้วย " พระเถระเที่ยว (บิณฑบาต) หมู่บ้าน แล้ว (กลับ) ไป
ถึงวิหาร จึงพูดกะภิกษุหนุ่มว่า "ที่พึ่งในพระศาสนานี้ของเธอมีอยู่หรือ
อาวุโส" ภิกษุหนุ่มบอกว่า "มีขอรับ กระผมเป็นโสดาบัน" พระ
เถระจึงว่า "อาวุโส ถ้ากระนั้นเธออย่าได้ทำความพยายามเพื่อมรรค
เบื้องสูง (ต่อไป) เลย" ภิกษุหนุ่มถามว่า "เพราะเหตุอะไร ขอรับ"
พระเถระบอกว่า "พระขีณาสพ ถูกเธอว่าร้ายเอาแล้ว "ภิกษุหนุ่ม
รูปนั้น (จึงได้สำนึก) ขอขมาท่าน ด้วยการขอขมานั้น กรรมของ
เธอนั้นจึงได้ (กลับ) เป็นปกติ
*
* เรื่องที่เล่านี้มีปัญหามาก เช่นว่า
ก. คำที่ภิกษุหนุ่มว่าพระเถระนั้น เป็นอริยุปวาทโดยสถานไหน ทางอันติมวัตถุนั้น
ไม่ใช่แน่ แต่ทางคูณปริธัสนะก็ไม่ชัดนัก อริยคุณที่ให้ตัวอย่างไว้นั้น หมายถึงคุณวิเศษ
ที่เป็นอุตตริมนุสธรรม แต่ในเรื่องนี้ไม่ได้ว่าถึงเช่นนั้น คำที่ว่านั้นเมื่อสรุปเป็นคำไทยๆ
ก็คงจะว่า "คนแก่หน้าไม่อาย " เท่านั้นเอง จัดเป็นคำคุณปริสนะได้หรือไม้ ?
ข. ภิกษุหนุ่มรูปนั้น ถ้าท่านเป็นผู้ปฏิบัติจนเป็นพระโสดาบัน (ตามที่ท่านเปิดเผย
เอง) แล้ว ท่านน่าจะหยั่งทราบได้ว่าพระเถระนั้นมีภูมิธรรมสูงกว่าท่าน ซึ่งท่านน่าจะ
เคารพ แต่ที่ท่านกล่าววาจาเอาพระเถระเช่นนั้น ส่อว่าไม่เคารพ พระโสดาบันเป็นพระ
อริยะ กลับไปทำอริยุปวาทเสียเอง อย่างไรอยู่ ฯลฯ
รวมความว่า ตามที่ทานบอกว่าเล่าเรื่อง เพื่อให้เป็นอริยุปวาทกรรมชัดเจนขึ้นนั้น
การตรงกันข้ามเสียแล้ว คือฟังเล่าแล้วกลับเกิดความฟั่นเฟือต่าง ๆ ดังนี้