วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 128
หน้าที่ 128 / 244

สรุปเนื้อหา

ข้อความนี้พูดถึงการสร้างภิกษุในรูปแบบต่าง ๆ โดยการบริกรรมและอธิษฐานรวมถึงการทำกิจกรรมต่าง ๆ เช่น สวดบทพระบาลี และการเย็บจีวรหลายสีเพื่อสร้างภาพที่ดูเหมือนภิกษุหลายรูปแบบ โดยใช้กระบวนการทางจิต เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่นักภาวนาต้องการเป็นหนึ่งเดียวหรือมากมายในเวลาเดียวกัน ซึ่งมีการเคลื่อนไหวสลับมุมมองเกี่ยวกับการทำงานของภิกษุในขณะนั้น และสื่อถึงความหลากหลายของวิธีการทำกิจกรรมตามสายปาฏิหาริย์ที่อาจเกิดขึ้นในสังคมทางศาสนา

หัวข้อประเด็น

-การสร้างภิกษุหลายรูปแบบ
-การแสดงฤทธิ์
-บทพระบาลีและกิจกรรมทางศาสนา
-ภาพลักษณ์ของภิกษุในสังคม
-การอธิษฐานและบริกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 128 (คือปลงไปแล้ว) ครึ่งหนึ่ง (ยังไม่เสร็จ) บ้างก็มีผลแซม (คือหงอกประ ปราย) บ้างก็มีจีวรสีแดงครึ่งหนึ่ง" บ้างมีจีวรสีเหลือง (ล้วน) บ้าง กำลังทำกิจต่าง ๆ กันมีบทภาณ (สวดไปตามบทพระบาลี) ธรรมกถา (กล่าวอธิบายธรรม) สรภัญญะ (สวดคาถาโดยใช้เสียงมีทำนอง) ถาม ปัญหา ตอบปัญหา และระบบบาตร เย็บจีวร สุจีวรเป็นต้น หรือว่า เป็นผู้ใคร่จะทำภิกษุนิรมิตให้มีหลายอย่างต่างประการอื่น ๆ อีก (เช่น สูงเตี้ยอ้วนผอม) ก็ดี ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นออกจากฌานอันเป็นบาทแล้ว พึงทำบริกรรมโดยนัยว่า "ภิกษุจำนวนเท่านั้นจง (มีวัย) เป็นปฐมวัย" ดังนี้เป็นต้นแล้วเข้าฌานอีก ออกแล้วจึงอธิษฐาน ภิกษุนิรมิตเหล่านั้น ก็จะเป็นอย่างที่ผู้มีฤทธิ์ปรารถนาทุกประการ พร้อมกับจิตอธิษฐานแล ในข้อว่า "เป็นคนมากแล้ว (กลับ) เป็นคนเดียวก็ได้ " เป็นต้น ก็นัยนี้ แต่นี่เป็นความแปลกกัน คือ [เอกภาวปาฏิหาริย์ - ทำคนมากให้กลับเป็นคนเดียว] อันภิกษุ (ผู้มีฤทธิ์) นี้ ครั้นนิรมิต (ตน) ให้เป็นคนมากอย่างนั้น แล้วคิดว่า "เราจัก (กลับ) เป็นคนเดียวอีก แล้วจงกรม ทำสาธยาย ถามปัญหาเถิด" หรือคิดด้วยความมักน้อยว่า "วิหารนี้ (ตามปกติ) มีภิกษุน้อย ถ้าใคร ๆ จักมา (เห็นภิกษุมาก) เข้า ก็จักนึกว่า "ภิกษุ เหล่านี้มีจำนวน (มากถึง) เท่านี้ แต่ (มีรูป) เป็นเช่นเดียวกัน (หมด) * เข้าใจว่า จะไม่ใช่การติดตลก น่าจะเป็นว่า ไปได้ผ้าบังสุกุลต่างสีมาเย็บต่อกันเข้า เกิดเป็นจีวรหลายสี (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More