การฝึกทิพยโสตในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 173
หน้าที่ 173 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงการฝึกทิพยโสตของพระโยคาวจรภิกษุ โดยเริ่มจากการเข้าฌานเพื่อให้เกิดอภิญญา เมื่อออกจากฌานแล้วสามารถอาวัชนาการถึงเสียงที่อยู่ไกลออกไป เสียงที่รับรู้จะแบ่งออกเป็นเสียงหยาบ เช่น เสียงระฆัง กลอง และเสียงที่ละเอียด เช่น เสียงน้ำ ไม้แห้ง เสียงนก ซึ่งภิกษุจะต้องมีสมาธิจิตเพื่อให้สามารถรับรู้เสียงได้ชัดเจนขึ้นในแต่ละทิศทางที่กำหนด

หัวข้อประเด็น

-การฝึกทิพยโสต
-อภิญญาในพระพุทธศาสนา
-การเข้าฌาน
-การจับเสียงในจิตใจ
-สัททนิมิตในเสียงต่าง ๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 173 [วิธีทำทิพยโสต] ปุจฉาว่า "ก็ทิพยโสตธาตุนี้ พระโยคาวจรภิกษุจะพึงให้เกิดขึ้น ได้อย่างไร ?" วิสัชนาว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานอันเป็นบาทแห่งอภิญญา ออกแล้วจึงอาวัชนาการถึงเสียงสัตว์มีสีหะเป็นต้นในป่า อันเป็นเสียง หยาบ ในระยะไกลขนาดโสตวิสัยปกติเข้าก่อนอื่น ด้วยสมาธิจิตส่วนที่ เป็นบริกรรม (แห่งทิพพโสตญาณ) (ต่อนั้น) จึงอาวัชนาการถึง เสียงที่ละเอียด ๆ เข้าตามลำดับ จับแต่เสียงที่หยาบกว่าเพื่อนดังนี้คือ เสียงระฆังในวิหาร เสียงกลอง เสียงสังข์ เสียงสวดของสามเณรและ ภิกษุหนุ่มผู้สวดเต็มแรง เสียง (ถามกัน) ว่า "อะไรท่าน อะไรคุณ" เป็นต้น ของภิกษุสามเณรเหล่านั้นผู้พูดกันอยู่เป็นปกติ เสียงนก เสียง ลม เสียงเท้า เสียงฉี่ ๆ ของน้ำเดือด เสียงใบตาลแห้งกรอบในแดด เสียงแมลงมีมดดำมดแดงเป็นต้น ภิกษุนั้นพึงมนสิการถึงสัททนิมิต แห่งเสียงทั้งหลาย ในทิศตะวันออก จึงมนสิการถึงสัททนิมิตแห่งเสียง ทั้งหลายในทิศตะวันออกเฉียงเหนือ....ทิศตะวันตกเฉียงใต้....ทิศตะวันตก เฉียงเหนือ....ทิศตะวันออกเฉียงใต้ จึงมนสิการถึงสัททนิมิตแห่งเสียง ทั้งหลาย ทั้งหยาบทั้งละเอียด เสียงเหล่านั้นย่อมปรากฏชัด) แก่เธอ ผู้แม้มีจิตเป็นไปตามปกติ แต่มันย่อมจะปรากฏ (ชัด) อย่างยิ่งแก่เธอ ผู้มีสมาธิจิตในบริกรรม * มหาฎีกาว่า เสียงนั่นเอง ท่านเรียกว่า สัททนิมิต เพราะเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งญาณ หรือมิฉะนั้นก็หมายถึงอาการหยาบละเอียดแห่งเสียงทั้งหลายตามที่กล่าวมา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More