วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 24
หน้าที่ 24 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอการวิเคราะห์เกี่ยวกับธาตุและลมในร่างกายมนุษย์ โดยอธิบายถึงฟังก์ชันและความสำคัญของลมในกระบวนการต่างๆ เช่น การไหวตัวและการกำจัดของเสียออกจากร่างกาย รวมถึงรายละเอียดเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวและการทำงานของอวัยวะต่างๆ ที่ถูกควบคุมโดยอำนาจของลมและธาตุ

หัวข้อประเด็น

- การทำงานของร่างกาย
- ธาตุและการเคลื่อนไหว
- ฟังก์ชันของลมในร่างกาย
- การจัดการของเสียในร่างกาย
- อาหารและการย่อยอาหาร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 24 ที่ร่างกายต้องการต่าง ๆ มี) รส (คือของเหลวอันมีประโยชน์ แก่ร่างกาย ? ) เป็นต้น” เพราะเตโชคตใด ก็ในอาการ ๔ อย่างนั้น อาการ ๓๒ ข้างต้นมีเตโชธาตุเป็น สมุฏฐาน อาการสุดท้ายมีกรรมเป็นสมุฏฐานแท้ [วาโย] สิ่งที่ชื่อว่า วาโย เพราะอำนาจแห่งความเป็นสิ่งทำให้ฟุ้งไป สิ่งใดไปในวาโยทั้งหลายโดยนัยที่กล่าวแล้วเหมือนกัน” เหตุนั้น สิ่งนั้น จึงชื่อว่า วาโยคต สิ่งนั้นได้แก่อย่างไร ? สิ่งนั้นได้แก่ลักษณะคือการไหว ตัวได้ คำว่า อุทฺธงฺคมา วาตา คือลมขึ้นเบื้องบน ยังอาการมีเรือ และสะอึกเป็นต้นให้เป็นไป คำว่า อโธคมา วาตา คือ ลมลงเบื้อง ล่าง นำเอาอุจจาระปัสสาวะเป็นต้นออกไป คำว่า กุจฺฉิสยา วาตา คือลมอยู่ภายนอกลำไส้ คำว่า โกฏฐาสยา วาตา คือลมอยู่ภายใน สำไส้ คำว่า องฺคมงฺคานุสาริโน วาตา คือ ลมอันแล่นไปตาม องคาพยพใหญ่น้อยทั่วสรีระ ตามแนวข่ายเส้น (เลือด) ยังการกู้ (อวัยวะ) และการเหยียด (อวัยวะ) เป็นต้นให้เกิดขึ้นได้ คำว่า อสฺสาโส ได้แก่ลมหายใจเข้าข้างใน คำว่า ปสฺสาโส ได้แก่ลม ๑. มหาฎีกาอธิบายว่า อาหารย่อยแล้วเกิดเป็นรสขึ้น แล้วก็แยกไปเป็นเลือด เนื้อ มัน เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก และน้ำสุกกะ ๒. ดูเชิงอรรถ ๓ หน้า ๒๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More