ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 220
ข้าพเจ้าด้วยเถิด " แม้เมื่อไม่ได้ขอขมาต่อหน้า (ท่าน) ก็พึงทำวัตร
นั้นเหมือนกัน
ถ้าพระอริยะนั้นเป็นเอกจาริกภิกขุ (ภิกษุผู้จาริกไปผู้เดียว) สถาน
ที่อยู่ของท่านไม่มีใครรู้ สถานที่ไปขอท่านเล่าก็ไม่ปรากฏไซร้ ก็พึง
ไปหาภิกษุที่เป็นบัณ
นบัณฑิตรูปหนึ่ง แล้วบอก (ปรึกษาท่าน) ว่า "ท่าน
ขอรับ กระผมได้กล่าวถึงท่าน กะท่านผู้มีอายุชื่อโน้น วิปฏิสาร (เกิด
มีแก่กระผมทุกทีที่ระลึกถึงท่าน กระผมทำอย่างไร (ดี)" ภิกษุ
บัณฑิตนั้นจะกล่าวว่า "ท่านอย่าคิดไปเลย พระเถระจะย่อมอดโทษให้แก่
ท่าน ท่านจงทำจิตให้ระงับเถิด" ฝ่ายเธอก็พึงบ้างหน้าต่อทิศทางที่
พระอริยะไป ประคองอัฐชลีกล่าว (ขึ้น) ว่า "ขมตุ"
นั้นจงอดโทษเถิด"
- จอพระเถระ
ถ้าพระอริยะนั้นเป็นผู้ปรินิพานเสียแล้ว เธอจึงไป (ให้) ถึง
ที่ที่นับว่าเป็นเตียงที่ท่านปรินิพพาน” กระทั่งถึงป่าช้าผีดิบก็ดี ขอขมา
๑. อชมนเต ในมหาฎีการเป็น อขมาเป็นฺเต แล้วบอกไว้ว่าปาฐะเป็น อขมนฺเต ก็มี
เห็นว่า อขมาเปนฺเต นั่นแหละถูกต้อง เพราะข้างต้นเป็น ขมาเปส ขมาเปตพฺโพ ขมา
เปต นํ มาเป็นแถว
การขอขมานี้ ภาษาไขว้เขวกันอยู่ ภาษาไทยว่า "ขอขมา" นั้น อาจฟังเป็นว่าเรา
ไปขมาท่าน แต่ที่จริงเป็นคำสมาส พูดเต็มว่า "ขอให้ท่านขมา" คือขอให้ท่านอดโทษ ให้
ตรงกับภาษาบาลีว่า ขมาปน - ยังท่านให้อดโทษนั่นแหละ ในที่นี้แปลดตัดเป็นสำนวนไทย
ว่า ขอขมา.
๒. ปรินิพพุตมญจฏฐาน มหาฎีกาว่า หมายถึง "ปูชากรณฏฐาน - ที่ท่านทำการบูชา
(ถึงท่าน)" จะอธิบายว่าอย่างไร น่าจะอธิบายว่า พระอรหันต์มิได้ปริพพานบนเตียง
ไปทุกองค์ อนึ่ง แม้มีเตียง ล่วงกาลนานไปเตียงก็ผุพังไป เขาก็ทำที่สังเขปว่าเป็นที่
ปรินิพพานของท่านขึ้นไว้ เป็นที่บูชาถึงท่าน ทำนองพระแท่นดงรังของเรานั่นกระมัง (?)