วิสุทธิมรรค: ฤทธิ์และความสำเร็จในพระพุทธศาสนา วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 99
หน้าที่ 99 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้จะกล่าวถึงคำว่า 'ฤทธิ์' ซึ่งหมายถึงความสำเร็จและการบรรลุผลในธรรมะ ตามที่ปรากฏในวิสุทธิมรรค ภาค ๒ โดยการอธิบายแสดงให้เห็นว่า ฤทธิ์นั้นสัมพันธ์กับอุปายสัมปทา ซึ่งเป็นการถึงพร้อมแห่งอุบายที่ก่อให้เกิดผลที่ปรารถนา นอกจากนี้ ยังมีการกล่าวถึงความสำเร็จที่เกิดจากคุณลักษณะของผู้มีศีลและธรรมอันงาม บทความนี้ยังนำเสนอ ฤทธิ์ ๑๐ อย่างตามพระบาลี เช่น ขุ. ป. ๓๑/๖๑๙ และ สํ. สฬา. ๑๘/๓๗๓ ซึ่งแสดงถึงความหมายที่หลากหลายของคำว่า ฤทธิ์ รวมถึงการหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของฤทธิ์
-อุปายสัมปทา
-คุณลักษณะของผู้มีศีล
-ฤทธิ์ ๑๐ อย่างในพระบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 99 ว่า "เนกขัม ชื่อว่าฤทธิ เพราะสำเร็จ (คือ เกิดผล) ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะนำปฏิปักขธรรมไปเสีย อรหัตมรรค ชื่อว่า ฤทธิ์ เพราะสำเร็จ (คือ ได้บรรลุ) ชื่อว่า ปาฏิหาริย์ เพราะนำปฏิปักขธรรมไปเสีย" อิกนัยหนึ่ง ชื่อว่า ฤทธิ เพราะอรรถว่าสำเร็จ (คือ เกิดผล) คำว่า ฤทธิ์ นี้ เป็นชื่อแห่งอุปายสัมปทา (ความถึงพร้อมแห่งอุบาย) จริงอยู่ อุปายสัมปทา ย่อมสำเร็จ (คือให้ผล) เพราะเป็นเหตุเกิดผล ที่ประสงค์ ดังบาลีว่า "จิตตะคฤหบดีนี้แล เป็นผู้มีศีล มีธรรมอันงาม ถ้าปรารถนาว่า "ในอนาคตกาล ขอเราจึงได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ์เถิด" ดังนี้ ความปรารถนาของเธอจักสำเร็จ (คือ เกิดผล) เป็นแท้ เพราะ ความตั้งในปรารถนาแห่งผู้มีศีล เป็นกิริยาอันสะอาด" ๒ ดังนี้ อิกนัยหนึ่ง สัตว์ทั้งหลายย่อมสำเร็จ (คือเจริญ) ด้วยคุณชาตินั่น เหตุนั้น คุณชายนั้น จึงชื่อว่า ฤทธิ์ มีอธิบายว่า คำว่า อิชฌนฺติ สำเร็จ (นัยนี้) ประสงค์ความว่า เป็นผู้เจริญรุ่งเรือนเฟื่องฟู [ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง] ฤทธิ์นั้นมี ๑๐ อย่าง ดังพระบาลีว่า คำว่า ฤทธิ์ทั้งหลาย หมาย เอาฤทธิ์ ๑๐ อย่าง และท่านกล่าวต่อไปอีกว่า ฤทธิ์ ๑๐ อย่างคืออะไร บ้าง ? ฤทธิ์ ๑๐ อย่าง คือ ๑. ขุ. ป. ๓๑/๖๑๙ ๒. สํ. สฬา. ๑๘/๓๗๓ ๓. รวมทุกนัยได้ความว่า อิทธิ ที่เราแปลทับศัพท์ว่า ฤทธิ์ นั้น มีความหมายอย่างน้อยก็ 4 คือ สำเร็จ เกิดผล ได้ตามประสงค์ และเจริญ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More