ข้อความต้นฉบับในหน้า
141
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 14
"ภิกษุผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาสกสิณสมาบัติอยู่โดยปกติ อาวัช
นาการถึงที่นอกฝานอกกำแพงนอกภูเขา ครั้นแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า
"(ฝากำแพงภูเขา) จงเป็นอากาศ (ๆ)" มันก็เป็นอากาศไป เธอก็ไป
นอกฝานอกกำแพงนอกภูเขาได้ไม่ติด มนุษย์ทั้งหลายผู้ไม่มีฤทธิ์อยู่โดย
ปกติ ย่อมไปในที่ ๆ ไม่มีอะไรกันไม่มีอะไรล้อมได้ ไม่ติด ฉันใด
ภิกษุผู้มีฤทธิ์ได้เจโตวสีนั้น ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมไปนอกฝานอก
กำแพงนอกภูเขาไม่ติด ดุจไปในอากาศก็ได้ ฉะนั้น"
ถามว่า "ก็ถ้าเมื่อภิกษุนั้นอธิษฐานแล้วกำลังไปอยู่ (อย่างนั้น
เกิดมี) ภูเขาหรือต้นไม้ก็ตามผุดขึ้น (กั้น) ในระหว่าง (ทาง) เธอจำ
ต้องเข้าสมาบัติแล้วอธิษฐานอีกหรือไฉน ?" แก้ว่า "โทษ (ในการ
เข้าสมาบัติแล้วอธิษฐานอีกนั้น) หามีไม่" ด้วยว่าการเข้าสมาบัติแล้ว
อธิษฐานอีก ก็เป็นเช่นกับการถือนิสสัยในสำนักพระอุปัชฌายะ และก็
(หากมีภูเขาเป็นต้นผุดขึ้นกั้นจริงๆ) เพราะภิกษุนี้อธิษฐานว่า "จงเป็น
อากาศ (ๆ)" มันก็คงเป็นอากาศอีกนั่นแหละ อันข้อที่ว่าภูเขาหรือ
ต้นไม้อื่นจักเกิดด้วยฤดูผุดขึ้น (กั้น) ในระหว่าง (ทาง) ด้วยกำลังแห่ง
ความอธิษฐานครั้งแรกของเธอนั่นเอง นั่นมิใช่ฐานะ (คือเป็นไปได้)
ในกรณีที่สิ่งที่ผุดขึ้นในระหว่างนั้น เป็นสิ่งที่ผู้มีฤทธิ์อื่นนิรมิตขึ้นเล่า
การนิรมิตก่อนย่อมมีกำลัง (กว่า) สิ่งที่นิรมิตทีหลังต้อง (หลีก) ไปข้าง
๑. ขุ. ป.๓๑/๕๕๔.
๒. มหาฎีกาสรุปว่าเป็น อฐานปริกัป คือข้อกำหนดที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไรจะโผล่ขึ้น
มาเช่นนั้นไม่มีดอก.