วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - ลำดับขันธ์และการระลึกปุพเพนิวาส วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 181
หน้าที่ 181 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับการระลึกปุพเพนิวาสในบุคคลต่างๆ โดยแยกประเภทเป็น 6 ประเภท รวมถึงเดียรถีย์และพระอสีติมหาสาวก โดยชี้ให้เห็นว่าสามารถระลึกได้ในระยะเวลาที่แตกต่างกัน อธิบายถึงความสามารถในการระลึกและการกำหนดนามรูปที่แตกต่างกันระหว่างประเภทต่างๆ ของบุคคล ตลอดจนสะท้อนถึงปัญญาที่มีแตกต่างกันในแต่ละประเภทซึ่งส่งผลต่อความสามารถในการระลึกถึงเหตุการณ์ในอดีต

หัวข้อประเด็น

-ลำดับขันธ์
-การระลึกปุพเพนิวาส
-ประเภทบุคคล
-ปัญญาที่แตกต่าง
-อภินิหารของพระพุทธเจ้า

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 181 ลำดับแห่งขันธ์ หรือว่าโดยจุติปฏิสนธิ [บุคคลผู้ระลึกปุพเพนิวาสได้ ๖ ประเภท] ก็ชน 5 ประเภท ย่อมระลึกปุพเพนิวาสนี้ได้ คือเดียรถีย์ทั้งหลาย พระปกติสากทั้งหลาย พระมหาสาวกทั้งหลาย พระอัครสาวกทั้งหลาย พระปัจเจกพุทธทั้งหลาย พระพุทธเจ้าทั้งหลาย [ระยะกาลต่างกัน] ในชน ๖ ประเภทนั้น เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้เพียง ๔๐ กัป ไม่ยิ่งกว่านั้น เพราะอะไร เพราะมีปัญญาอ่อน จริงอยู่ ปัญญา ของเดียรถีย์เหล่านั้น จัดว่าเป็นปัญญาอ่อน เพราะปราศจากการกำหนด นามรูป พระปกติสาวก ระลึกได้ ๑๐๐ กัปก็มี ๑,๐๐๐ กัปก็มี ทีเดียว เพราะเป็นผู้มีปัญญากล้า พระอสีติมหาสาวก ระลึกได้แสน กัป พระอัครสาวกทั้งสองระลึกได้หนึ่งอสงไขยกับแสนกัป พระ ปัจเจกพุทธระลึกได้สองอสงไขยกับแสนกัป เพราะว่าอภินิหารของ ท่านเหล่านั้นมีเท่านี้ แต่สำหรับพระพุทธเจ้าทั้งหลายหามีกำหนด (กาล) ไม่ [ความสามารถในการระลึกต่างกัน] อนึ่ง เดียรถีย์ทั้งหลาย ระลึกได้แต่ลำดับขันธ์ ไม่อาจปล่อย ลำดับ มาระลึกโดยจุติปฏิสนธิได้ เพราะการก้าวลง (ด้วยญาณ) * มหาฎีกาว่า เดียรถีย์ในที่นี้ หมายเอาจำพวกที่เป็นกรรมวาที กิริยาวาที มีพวกดาบส เป็นต้น และว่าเรื่องเดียรถีย์ระลึกได้ ๔๐ กัปนี้ มีอาคตสถานในพระสูตรมีพรหมชาลสูตร เป็นอาทิ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More