การอธิบายธาตุและความหมายของทุกข์ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 58
หน้าที่ 58 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิบายธาตุต่าง ๆ เช่น ปฐวี, อาโป, เตโช และวาโย ที่ถูกจัดกลุ่มตามคุณลักษณะและคุณสมบัติในบริบทของทุกข์และการตีความทางปรัชญา พระโยคาวจรได้ชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของธาตุและทุกข์โดยการแยกแยะลักษณะของธาตุตามคุณสมบัติทั้งในด้านที่เหมือนกันและแตกต่างกัน เพื่อเข้าใจลักษณะของทุกข์ในมนุษย์และการดำเนินชีวิตอย่างลึกซึ้ง ปรัชญาเหล่านี้เสนอให้มีการพิจารณาธาตุอย่างมีระเบียบและแยกแยะปัจจัยในการทำให้เกิดทุกข์อย่างละเอียด

หัวข้อประเด็น

-การอธิบายธาตุ
-ความหมายของทุกข์
-ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุและทุกข์
-การแบ่งประเภทของธาตุ
-พระโยคาวจร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

- หน้าที่ 58 โดยรวม (ที่เหมือนกัน) เข้าด้วยกัน ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - สงฺคหโต ปจฺจยโต โดยเป็นปัจจัย (ของกันและกัน) อสมนุนาหารโต ปจฺจยวิภาคโต โดยไม่มีความคิดคำนึง โดยจําแนกปัจจัย [โดยความแห่งคำ] ในอาการเหล่านั้น พระโยคาวจรผู้เมื่อจะมนสิการ โดยความแห่ง คำ พึงมนสิการโดยความแห่งคำตอบที่แปลกกันและเสมอกันอย่างนี้ (โดยแปลกกัน) ว่า ธาตุชื่อว่าปฐวี เพราะความเป็นของหยาบ ชื่อ ว่าอาโป เพราะไหลไปได้ หรือเพราะเอิบอาบไปได้ หรือเพราะ (ทำ ให้) ชุ่มชื้น ชื่อว่าเตโช เพราะทำให้ร้อน ชื่อว่าวาโย เพราะพัดไปได้ ส่วนว่าโดยไม่แปลกกัน (พึงมนสิการว่า) สิ่งที่ชื่อว่า ธาตุ เพราะ ทรงไว้ซึ่งลักษณะของตน เพราะเป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ และเพราะเป็นที่ รองรับทุกข์ " [โดยกลาป] ข้อว่า "โดยกลาป" มีพรรณนาว่า ปฐวีธาตุที่ท่านแสดงด้วย อาการ ๒๐ โดยนัยว่า ผม ขน เป็นต้น และอาโปธาตุที่แสดงด้วย * ทุกฺขฏฐานโต ท่านผู้ชำระลงเชิงอรรถแก้เป็นต้น ทุกขาทานโต เพราะถือเอาทุกข์ ส่วน มหาฎีกาแก้อรรถว่า ทุกฺขสฺส วิทหนโต - เพราะจัดสรรค์ทุกข์ อธิบายธาตุเหล่านั้น ก่อขึ้นเป็นเหตุแล้ว สรรค์สร้างทุกข์เป็นอเนกประการ ดุจธาตุคือแร่เหล็กแร่ทองแดง เป็นต้น สรรค์สร้างเนื้อเหล็กเนื้อทองแดงเป็นอาทิขึ้นฉะนั้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More