ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 9
แก่พระเจ้าจักรพรรดิ แต่สำหรับพวกคนมีปัญญาอ่อน" อาสยะมีทั้ง ๔
อย่าง เพราะเหตุนั้น ผู้ใดมีปิตตาสยะยิ่ง (อาหารที่เข้าไปในลำไส้)
ของผู้นั้น ก็เป็นเหมือนเปรอะด้วยยางมะซางข้น ๆ น่าเกลียดยิ่งนัก
ผู้ใดมีเสมหาสยะยิ่ง ของผู้นั้นก็เป็นเหมือนเปรอะด้วยน้ำในแตงหนู ผู้
ใดมีปุพพาสยะยิ่ง ของผู้นั้นก็เป็นเหมือนเปรอะด้วยเปรียงเน่า ผู้ใด
มีโลหิตาสยะยิ่ง ของผู้นั้นก็เป็นเหมือนเปรอะด้วยน้ำย้อม (จีวร)
น่าเกลียดยิ่งนัก""
(นิธานโต - ปฏิกูลโดยที่พัก (คือกระเพาะอาหาร]
(ความปฏิกูล) โดยที่พัก (คือกระเพาะอาหาร ?) เป็น
อย่างไร ? ความปฏิกูลโดยที่พักจึงเห็นลงอย่างนี้ว่า "อาหารอัน
กลืนเข้าไปที่เปื้อนด้วยอาสยะ
ด้วยอาสยะ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่งแล้วนั้น เข้าไป
ภายในท้องแล้วจะได้ไปพักอยู่ในภาชนะทำด้วยทองงก็หามิได้ ไปพัก
อยู่ในภาชนะ (อันวิเศษอื่นๆ ) มีภาชนะประดับแก้วมณีหรือภาชนะ
ทำด้วยเงินเป็นต้นก็หาก็ได้ แต่ว่าถ้าคนอายุ ๑๐ ขวบกลืนลงไป (มัน)
ก็ (ไป) พักอยู่ในโอกาสที่เป็นเช่นหลุมคูถอันไม่ได้ล้างมา ๑๐ ปี
๑. ฉบับพม่าเป็น มนฺทปุญญาน์ - บุญน้อย ในมหาฎีกาเป็น มนฺทปุญฺญ แต่ว่าจะเป็น
ปัญญาอ่อน หรือบุญน้อย อย่างไหนก็เข้าใจยากอยู่นั่นเองทำไมจึงเป็นเช่นนั้น.
๒. อาสยะ ในที่อื่นหมายถึงกระเพาะก็มี เช่น อามาสยะ หมายถึงกระเพาะอาหาร
และ ปกกาสยะ หมายถึงกระเพาะอุจจาระ แต่ในที่นี้ท่านหมายถึงโอกาสหนึ่ง ยังไม่
ถึง อามาสยะ อาหารลงไปถึงนั่นแล้วต้องระคนกับอาโปธาตุ ๔ อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ
ทั้ง ๔ อย่าง คือ น้ำดี เสมหะ บุพโพ และโลหิต แล้วจึงเลื่อนต่อไปถึง อามาสยะ
(?) ข้อนี้พอเห็นเค้า อาหารที่สำรอกออกมามีสีแปลก ๆ ก็มี ดังที่เราพูดกันว่า "ราก
เขียวรากเหลือง"