ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 111
"ถามว่า ปุญฺญวโตอิทฺธิ เป็นไฉน พระเจ้าจักรพรรดิย่อมไปในอากาศ
ได้" พร้อมทั้งจตุรงคินีเสนา โดยที่สุดจนชั้นพวกคนเลี้ยงม้าคนเลี้ยง
โค (ฤทธิของพระเจ้าจักรพรรดินี้เป็น ปุญฺญวโตอิทธิ) ฤทธิของ
โขติกคฤหบดีก็เป็น ปุญฺญวโตอิทธิ ฤทธิของชฎิลคฤหบดีก็เป็น
ปุญฺญวโตอิทฺธิ ฤทธิของโฆสกคฤหบดีก็เป็น ปุญฺญวโตอิทธิ ฤทธิของ
เมณฑกคฤหบดีก็เป็น ปุญฺญวโตอิทธิ ฤทธิของผู้มีบุญทั้งห้า ก็เป็น
ปุญฺญวโตอิทธิ" ดังนี้ ว่าโดยสังเขป คุณวิเศษที่สัมฤทธิ์ขึ้นในเมื่อ
บุญสมภารถึงความสุกงอมแล้ว ชื่อว่า ปุญฺญวโตอิทธิ
ก็แล บรรดาท่านผู้มีบุญเหล่านั้น สำหรับโชติกคฤหบดี มี
ปราสาทแก้ว (หลังหนึ่ง) และกัลปพฤกษ์ ๖๔ ต้น ทำลายแผ่นดินขึ้น
มาตั้งอยู่ นี้แล ปุญฺญวโตอิทธิ ของโชติกคฤหบดีนั้น สำหรับชฎิล
คฤหบดี มีภูเขาทอง (สูงใหญ่) ประมาณ ๘๐ ศอกเกิดขึ้น (นี่ ปุญญ
วโตอิทธิ ของชฎิลคฤหบดีนั้น) ความที่แม้เมื่อเขาทำความพยายาม
จะฆ่าถึง 9 แห่ง (๓ ครั้ง) แต่ก็ไม่เจ็บอะไรเลย เป็น ปุญญวโตอิทธิ
ของโฆสกคฤหบดี ความที่แกะอันล้วนแล้วไปด้วยแก้ว ๒ ประการ
เกิดปรากฏขึ้นในที่ (นา) ที่เพียงแต่ไถได้รอยเดียว เป็น ปุญฺญวโตอิทธิ
ของเมณฑกคฤหบดี
บุคคลคือ เมณฑกเศรษฐี ภริยาของเขาชื่อจันทปทุมศิริ บุตร
๑. เวหาส มหาฎีกาว่า ในที่นี้เป็นทุตินาวิภัติ ในอรรถแห่งสัตตมี หรือในอัจจันตสังโยค
(คือแปลว่า "สิ้น หรือ ตลอด" ก็ได้)
๒. ขุ. ป. ๓๑/๖๐๐,
๓. ไม่ใช่แก้ว ๓ ประการ อย่าของพระเจ้าจักรพรรดิ