การใช้อำนาจด้วยกายตามวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 167
หน้าที่ 167 / 244

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการใช้อำนาจด้วยกายและความหมายของฤทธิ์ โดยเฉพาะว่าการที่ผู้มีฤทธิ์สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งการปรากฏตัวและการสนทนากับพรหม ไม่ได้หมายความว่าเขาใช้พลังทางกายจริง ๆ ความสามารถในการอธิษฐาน และการนิรมิตรูปเพื่อแสดงฤทธิ์กับพรหมได้ ถูกมองว่าเป็นยอดปาฏิหาริย์ในด้านอำนาจด้วยกาย แต่แม้การเดินทางไปยังพรหมโลกด้วยวิธีต่าง ๆ ก็ยังไม่ถือว่าการใช้อำนาจอย่างแท้จริง นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างฤทธิ์อธิษฐาน ด้านวิกุพฺพนาอิทฺธิ และมโนมยาอิทธิ ซึ่งถูกอธิบายเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเรื่องราวของอำนาจด้วยกายในมุมมองที่ละเอียดยิ่งขึ้น

หัวข้อประเด็น

-การใช้อำนาจด้วยกาย
-ฤทธิ์อธิษฐาน
-วิสุทธิมรรค
-นิรมิตรูป
-วิธีการแสดงฤทธิ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 167 ด้วยเจโตปริยญาณ เพียงเท่านี้ยังไม่ชื่อว่าใช้อำนาจด้วยกาย แม้ข้อที่ ผู้มีฤทธิ์นั้นสถิตอยู่ในมนุษยโลกนี้นี่แหละ (แสดงกิริยาไป) ยืนด้วย กัน ปราศรัยกัน สนทนา (ธรรม) กันกับพรหมนั้นได้ เพียงนั้น ก็ยังไม่ชื่อว่าใช้อำนาจด้วยกาย ถึงการที่เธออธิษฐาน (ได้ต่าง ๆ) มีอธิษฐานที่ไกลให้เป็นที่ใกล้ก็ได้เป็นต้น เพียงนั้นก็ยังไม่ชื่อว่าใช้ อำนาจด้วยกาย แม้แต่การที่ผู้มีฤทธิ์นั้นไปพรหมโลกได้ด้วยทิสสมานกาย ก็ดี ด้วยอทิสสมานกายก็ดี ถึงเพียงนี้ก็ยังไม่ชื่อว่าใช้อำนาจด้วยกาย ส่วนการที่ผู้มีฤทธิ์นั้นมาถึงวิธี (แสดงฤทธิ์) ที่กล่าวไว้โดยนัยว่า นิรมิตรูปขึ้นต่อหน้าพรหมนั้นได้เป็นต้น เพียงนี้จึงชื่อว่าใช้อำนาจด้วย กาย" ส่วนวิธีที่เหลือ (ที่กล่าวมาข้างต้น) ท่านกล่าวไว้เพื่อแสดง บุพภาคแห่งการใช้อำนาจด้วยกายนั้นแล ดังนี้ นี่ อธิฏฐานาอิทธิ - ฤทธิ์อธิษฐาน เป็นอันดับแรก |วิกุพฺพนาอิทฺธิ - ฤทธิบิดเบือน] ส่วน วิกุพฺพนาอิทฺธิ กับ มโนมยาอิทธิ" มีข้อแตกต่างกัน ๑. เป็นอันได้ความว่า การนิรมิตรูปกายขึ้นพุดจากับพรหมได้ เป็นยอดปาฏิหาริย์ใน ข้อนี้. ๒. อย่าลืมว่าท่านบอกไว้ข้างต้นแล้วว่า ในอิทธิวิธะนี้ได้แก่ อธิฏฐานาอิทธิ เท่านั้น แต่มี วิกุพฺพาอิทธิ กับ มโนมยาอิทธิ ประกอบด้วย เพราะเป็นพวกสำเร็จด้วยอธิษฐาน ด้วยกัน.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More