การศึกษาอากาสกสิณในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 140
หน้าที่ 140 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้วิเคราะห์ความหมายของคำว่าอากาสกสิณในวิสุทธิมรรคและการทำปาฏิหาริย์โดยการเข้าอากาสกสิณ โดยอธิบายถึงประโยชน์และวิธีการของการใช้กำลังจิตในการทำปาฏิหาริย์ รวมถึงความเชื่อมโยงกับการสร้างรูปต่าง ๆ เช่น ช้างและม้า และการวิธีการเข้าสู่สมาบัติ ๘ เพื่อความสำเร็จในการปฏิบัติธรรม ผู้ศึกษาจะได้รับความเข้าใจเกี่ยวกับการฝึกจิตและการใช้พลังอำนาจของจิตในทางบวก

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอากาสกสิณ
-การทำปาฏิหาริย์
-การเข้าอากาสกสิณ
-สมาบัติ ๘

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 140 คำว่า ปาการ หมายเอากำแพงล้อมสถานที่มี เรือน วิหาร และบ้าน เป็นต้น คำว่า ปพฺพต ได้แก่ภูเขาดินหรือภูเขาหินก็ได้ บทว่า อสชฺชมาโน แปลว่า ไม่ติด คำว่า เสยฺยถาปิ อากาเส แปลว่า ดัง (ไป) ในอากาศ ก็แลภิกษุผู้มีฤทธิ์ใคร่จะไปอย่างนั้น เข้าอากาสกสิณ ออกแล้ว นึกหน่วงถึงฝาหรือกำแพงหรือภูเขา แม้ในภูเขาสิเนรุและภูเขาจักรวาฬ ลูกในลูกหนึ่งก็ตาม (ที่ตนต้องการจะผ่านไป) ทำบริกรรมไป อธิษฐาน ว่าจะเป็นอากาศ(ๆ) มันก็เป็นอากาศไปทันที สำหรับผู้ใคร่จะลงไป ข้างล่าง หรือผู้ใคร่จะขึ้นไปข้างบน มันก็เป็นโพรง (ให้) สำหรับ ผู้ใคร่จะทะลวงไป (ตรง ๆ) มันก็เป็นช่องให้ เธอก็ไปในโพรงหรือ ช่องนั้นได้ไม่ติด ส่วนพระติปิฎกจูฬาภยเถระกล่าว(ด้าน) ในการทำปาฏิหาริย์ข้อนี้ ว่า "ดูกรอาวุโสทั้งหลาย การเข้าอากาสกสิณมีประโยชน์อะไร ผู้มี ฤทธิ์ใคร่จะนิรมิตรูปต่าง ๆ มีช้างและม้าเป็นต้น ก็จะ (ต้อง) เข้ากสิณ (สัตว์) มีกสิณช้างกสิณม้าเป็นต้นด้วยหรือ ความเป็นผู้เชี่ยวชาญใน สมาบัติ ๘ เพราะทำบริกรรมในกสิณอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละ เป็น ประมาณ ผู้เชี่ยวชาญในสมาบัติ ๘ ปรารถนาให้เป็นสิ่งใด ๆ มันก็ ย่อมเป็นสิ่งนั้น ๆ เองแหละ มิใช่หรือ " ภิกษุทั้งหลายกล่าว (ท้วง) ว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ อากาสกสิณนั่นแหละมาในพระบาลี เพราะเหตุนั้น การเข้าอากาสกสิณ (ในการทำติโรกุฑฑาทิคมนปาฏิหาริย์) นั่น ควร กล่าวได้โดยแท้ " นี้บาลีในข้อนั้น คือ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More