การเกิดขึ้นของจักรวาฬและภูเขาหิมพานต์ในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 198
หน้าที่ 198 / 244

สรุปเนื้อหา

ในวิสุทธิมรรคแสดงถึงการเกิดของจักรวาฬและภูเขาหิมพานต์ซึ่งปรากฏในวันเพ็ญเดือนผัคคุณะ โดยใช้การเปรียบเทียบอาหารที่หุง สัตว์ที่มีผิวพรรณแตกต่างกัน เรียกร้องสติปัญญาเกี่ยวกับการเหยียดดีเกิดจากการมองที่ผิวภายนอก แล้วในท้ายที่สุดเสียงที่มีความรุนแรงก็เกิดขึ้นตามมา ทำให้มีกระบวนการเกี่ยวกับทวีปและสมุทรที่มีความเกี่ยวพัน.

หัวข้อประเด็น

- การเกิดขึ้นของจักรวาฬ
- ภูเขาหิมพานต์
- การเหยียดผิว
- ความสัมพันธ์ระหว่างภูเขาและสมุทร
- ผลกระทบของการเหยียดหยาม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 198 จักรวาฬ และภูเขาหิมพานต์ก็เกิดปรากฏขึ้น ก็แลภูเขาทั้ง ๓ นั้น เกิดปรากฏขึ้นในวันเพ็ญเดือนผัคคุณะ (คือเดือน ๔) ไม่ก่อนไม่หลัง กันเลยทีเดียว" ถามว่า เป็นอย่างไร ? แก้ว่า เมื่อข้าวฟ่าง (ที่หุง) สุก ฟองขึ้นซู่เดียวเท่านั้น (หน้าข้าว) ลางแห่งก็ปูดขึ้น ลางแห่งก็ปุ่มลง ลางแห่งก็เรียบ ๆ ฉันใด สิ่งเหล่านั้น ตรงที่ ๆ สูงขึ้นไปมันก็เป็น ภูเขา ที่ลุ่มลึกลงไปก็เป็นสมุทร ที่ราบเรียบก็เป็นทวีป (คือแผ่นดิน ใหญ่) ฉันนั้นเหมือนกัน [อาหารละเอียดหาย กลายเป็นอาหารหยาบ] อยู่มา เมื่อสัตว์เหล่านั้นกินง้วนดินไป ลางพวกมีผิวพรรณงาม ลางพวกก็มีผิวพรรณทรามไปตามลำดับ ในสองพวกนั้น พวกผิวพรรณ งามเหยียดหยามพวกผิวพรรณทราม” เพราะการเหยียดหยามกันเป็น ปัจจัย ง้วนดินนั้นเล่าก็หายไป สะเก็ดดินเกิดปรากฏขึ้น (แทน) ต่อมา โดยนัย (การเหยียดหยามกัน) นั้นแหละ แม้สะเก็ดดินนั้น ก็หายไปอีกเล่า เครือดินเกิดปรากฏขึ้น (แทน) โดยนัยเดียวกันนั้น ๑. มหาฎีกาเห็นว่าความตรงนี้ขาดไป คือควรจะกล่าวถึงทวีปและสมุทรด้วย ไม่ใช่แต่ ภูเขาเท่านั้น เพราะความต่อไปก็กล่าวอยู่ว่า ที่สูงเป็นภูเขา ที่ลุ่มเป็นสมุทร ที่ราบเป็น ทวีป เพราะฉะนั้น สิเนรุ ... ปพพตา ปาตุภวนฺติ ควรจะมีคำว่า ทีปสมุททาปี ต่ออีก ความจึงจะไม่ขาด. ๒. การถือวรรณะในชมพูทวีป นักปราชญ์ว่า เดิมก็คือถือผิวกาย ดังกล่าวนี้เอง แล้ว ต่อมากลายเป็นถือจำพวกไป การถือผิวกายนั้นก็ยังปรากฏอยู่ในลางประเทศจนทุกวันนี้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More