วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - อาการและธาตุ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 59
หน้าที่ 59 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้พูดถึงอาการ ๑๒ ตามแนวคิดของวิสุทธิมรรค ซึ่งอธิบายถึงธรรม ๘ ที่รวมกันเพื่อสร้างความสมมติในคำว่า "ผม" และการทำงานของธาตุทั้ง ๔ ในสรีระมนุษย์ โดยเน้นเรื่องการทำงานร่วมกันระหว่างปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ และวาโยธาตุ ที่สนับสนุนการดำรงอยู่ของชีวิตมนุษย์ ทำให้เข้าใจถึงพื้นฐานของชีวิตและธรรมชาติของมนุษย์ ผ่านการแยกแยะกลุ่มธรรมต่างๆ โดยมีการอธิบายว่าอดีตของสิ่งต่างๆ ได้ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปอย่างไร เนื้อหาในงานวิจัยนี้จะช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจลักษณะและความสำคัญขององค์ประกอบต่างๆ ในสรีระมนุษย์ รู้ถึงการทำงานร่วมกันของธาตุต่างๆ ที่ส่งผลต่อการมีอยู่ของชีวิตและสิ่งที่เป็นส่วนรวม

หัวข้อประเด็น

-อาการ ๑๒
-ธรรม ๘
-ธาตุทั้ง ๔
-การรวมกันขององค์ประกอบ
-ความสมมติในชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 59 อาการ ๑๒ โดยนัยว่า ดี เสมหะ เป็นต้นนี้ใด เหตุที่ในอาการเหล่านั้น เพราะความประชุมกันแห่งธรรม ๘ คือ สี กลิ่น รส โอชา และธาตุทั้ง ๔ ความสมมติว่า "ผม"จึง มีได้ เพราะธรรมเหล่านั้นแยกกันเสีย ความสมมติว่า "ผม" ก็หามิไม่ เพราะเหตุนั้น คำว่า ผม ก็คือกลุ่มแห่งธรรม 4 เท่านั้นเอง คำว่าขน เป็นต้น ก็อย่างนั้น แต่ในโกฏฐาสเหล่านั้น โกฏฐาสใดมีกรรมเป็น สมุฏฐาน โกฏฐานสั้นเป็น (ทสธรรมกลาป) กลุ่มแห่งธรรม ๑๐ กับ ชีวิตนทรีย์และภาวะบ้าง แต่ก็คงนับว่า เป็นปฐวีธาตุ อาโปธาตุ โดย อำนาจแห่งลักษณะที่เด่น พระโยคาวจรจึงมนสิการ โดยกลาปดังกล่าว มาฉะนี้ [โดย (ย่อยให้) เป็นจุณ] ข้อว่า "โดยเป็นจุณ" มีพรรณนาว่า ก็และปฐวีธาตุที่ย่อยจนเป็น ชนิดปรมาณู เป็นละอองละเอียด ในสรีระนี้ เมื่อกำหนดถือเอาโดย ประมาณ (ร่างกายคนขนาด) กลาง จะพึงมีสักโทณะหนึ่ง (เท่านั้น) ปฐวีธาตุนั้น อันอาโปธาตุซึ่งมีประมาณกึ่งโทณะนั้น ช่วยยึดไว้ (ให้ ติดกัน) เตโชธาตุช่วยรักษาไว้ (มิให้เน่าเสีย) วาโยธาตุช่วยพะยุงไว้ จึงไม่กระจัดกระจายไม่พังทะลายไป มันไม่กระจัดกระจายไม่พังทะลาย ไป จึงได้รับภารวิกัป (ความกำหนดแยกภาวะ) หลายอย่าง มีความ คือกลุ่ม 4 กลุ่มนั้นแหละ เพิ่มชีวตินทรีย์กับภาวรูปเข้าเป็น ๑๐
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More