วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - อาหาเรปฏิกูลสัญญา วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 15
หน้าที่ 15 / 244

สรุปเนื้อหา

ในวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ เนื้อหาได้กล่าวถึงประเด็นสำคัญเกี่ยวกับอาหาเรปฏิกูลสัญญา และอานิสงส์ของการฝึกจิตของภิกษุผู้ประกอบกรรมฐานผ่านอาหารที่มีลักษณะปฏิกูล โดยเน้นถึงการหลีกเลี่ยงราคะและการมุ่งมั่นใหม่เพื่อบรรลุถึงการปล่อยวางจากทุกข์ โดยภาวนาหรืองานวิจัยนี้จะถูกชี้ให้เห็นถึงสภาวธรรมที่เป็นฐานในการปฏิบัติธรรมและกรรมฐานลึกๆ ในการเข้าถึงอัปปนา โดยไม่เป็นไปตามอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต แทนที่จะมีการละวางอัตตาหรือตัณหาเพื่อเข้าถึงความหมายที่แท้จริงของการปฏิบัติในระดับลึก.

หัวข้อประเด็น

-อาหาเรปฏิกูลสัญญา
-อานิสงส์แห่งอาหาร
-จิตกับการปฏิบัติ
-ผลของการปฏิบัติธรรม
-การหลีกเลี่ยงราคะ
-สภาวธรรมและกรรมฐาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 15 เป็นสภาวธรรม" แต่เพราะว่าสัญญา (ความกำหนดหมาย) ใน กพฬิงการาหารนั้น ย่อมปรากฏด้วยอำนาจการถือเอาการปฏิกูล เพราะเหตุนั้น กรรมฐานนี้จึงถึงซึ่งความนับ (คือได้ชื่อ) ว่า " อาหาเรปฏิกูลสัญญา " ดังนี้ [อานิสงส์แห่งอาหารเรปฏิกูลสัญญา] ก็แลจิตของภิกษุผู้ประกอบเนืองๆ ซึ่งอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ย่อม ถอย ย่อมหด ย่อมกลับจากรสตัณหา เธอเป็นผู้ปราศจากความมัวเมา กลืนกินอาหารเพียงเพื่อต้องการจะข้ามทุกข์ไปได้ ดุจคน (เดินทาง กันดาร) มีความต้องการจะข้ามทางกันดาร (ให้จงได้ ไม่มีอะไร จะกิน จำต้องฆ่าบุตรแล้ว) กินเนื้อบุตรฉะนั้น ทีนี้ราคะอันเป็นไป ในเบญจกามคุณของเธอก็จะถึงซึ่งความกำหนดรู้ (ละได้)" ไม่สู้ ยาก โดยมีความกำหนดรู้กพฬิงการาหาร (โดยอาการปฏิกูล) เป็น มุข (คือเป็นตัวนำทาง) เธอจะกำหนดรู้รูปขันธ์ได้โดยมีความ Q. มหาฎีกาว่า นิมิตในอาหาเรปฏิกูลสัญญานี้ ก็คือกพฬิงการาหารที่ปรากฏโดยอาการ ปฏิกูลนั่นเอง หาใช้อุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิตไม่ เพราะถ้าอุคคหนิมิตเกิด ปฏิภาค นิมิตก็ต้องมี และเมื่อปฏิภาคนิมิตมี ฌานก็ต้องถึงอัปปนา แต่นี่ไม่มี เพราะอะไร เพราะภาวนามีอาการต่าง ๆ ประการหนึ่ง เพราะเป็นกรรมฐานลึกโดยความเป็นสภาว ธรรมประการหนึ่ง จริงอยู่ ภาวนานี้เป็นไปโดยอาการปฏิกูล แต่ว่าสิ่งที่ปฏิกูลนั้น ได้แก่ สภาวธรรมอันเป็นที่อาศัยแห่งสิ่งที่บัญญัติเรียกว่ากพฬิงการาหารนั่นต่างหาก หาใช่ตัว บัญญัตินั้นปฏิกูลไม่ ก็เพราะภาวนานี้ปรารภสภาวธรรมโดยถือเอาอาการปฏิกูลออกหน้า เป็นไป และเพราะสภาวธรรมทั้งหลายเป็นของลึกโดยสภาพ คือมันลึกของมันเอง เพราะฉะนั้น ฌานนี้จึงไม่ถึงอัปปนา ๒. ปริญญ์ มหาฎีกาไขความว่า สมติกฺกม ก้าวล่วง (คือละได้) แก้อย่างนี้เข้าหลัก ปหารปริญญา.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More