การบริหารภูตและธาตุในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 66
หน้าที่ 66 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้กล่าวถึงการเปรียบเทียบภูตที่น่ากลัวกับการหลอกลวงของธาตุที่มีรูปลักษณ์น่าพอใจ ซึ่งทำให้คนโง่หลงเชื่อ นอกจากนี้ยังมีการอธิบายถึงบทบาทของปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดำรงอยู่และการบริหารชีวิต โดยเฉพาะในเรื่องของการนำเข้าของกินและเครื่องนุ่งห่มที่เกิดเป็นปัจจัยที่สำคัญในการดำรงชีวิตของภูต โดยสามารถให้ความเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกหลอกลวงจากสิ่งที่มีรูปลักษณ์ภายนอกที่น่าดึงดูด.

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของภูต
-การบริหารด้วยปัจจัย
-การหลอกลวงของธาตุ
-ลักษณะธาตุและภูต
-การนำเข้าของกินและเครื่องนุ่งห่ม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 66 เป็นภูตที่น่ากลัวเสียแล้ว ลวงสัตว์ทั้งหลายด้วยผิวพรรณสัณฐานและ การกรีดกรายที่น่าพอใจฉันใด แม้ภูตคือธาตุเหล่านี้ก็ฉันนั้นแล ปกปิด รส (คือกิจ) และลักษณะประจำตน อันต่างโดยสภาพมีความที่ตน เป็นของหยาบเป็นต้นเสียแล้ว ลวงคนโง่ด้วยฉวีวรรณอันน่าพอใจ ด้วยทรวดทรงองค์อวัยวะน้อยใหญ่อันน่าชอบใจ ในร่างทั้งหลายมีร่างหญิง และชายเป็นต้น ไม่ให้เห็นสภาพแห่งตน เพราะเหตุนั้น ธาตุทั้งหลาย นั้นจึงได้ชื่อว่ามหาภูก เหตุเสมอด้วยภูตใหญ่คือยักษิณี" เพราะความ ที่เป็นสิ่งลวง ประการ ๑ [ความที่ต้องการบริหารใหญ่ บทว่า "เพราะต้องบริหารใหญ่" ความว่า เพราะต้องบริหาร ด้วยปัจจัยทั้งหลายเป็นอันมาก จริงอยู่ ภูตธาตุทั้งหลายนั้นเป็นแล้ว คือเป็นไปได้ด้วยปัจจัยทั้งหลาย มีของกินและเครื่องนุ่งห่มเป็นต้น ที่นับ ว่ามาก เพราะต้องนำเข้ามา (ปรนเปรอ) ทุกวัน ๆ เพราะเหตุนั้นจึง ชื่อ มหาภูต อีกนัยหนึ่ง ชื่อมหาภูต เพราะเป็นภูตมีเครื่องบริหาร ดังนี้ก็ได้ มาก คงนก ๑. สรสลักขณ์ มหาฎีกาแปลว่า สภาวภูตลกฺขณ์ - ลักษณะอันเป็นความจริง สกิจจก วา สภาว์ - หรือสภาพอันเป็นหน้าที่ของตน ๒. พวกยักษ์นั้น ท่านว่ามันมีรูปใหญ่โตโดยกำเนิดของมัน
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More