ความปฏิกูลและผลของการย่อยอาหาร วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 12
หน้าที่ 12 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงผลของการย่อยอาหารที่ไม่ดีซึ่งอาจนำไปสู่โรคต่างๆ เช่น โรคลงแดงและโรคท้องร่วง โดยเน้นถึงความปฏิกูลที่เกิดจากการไหลออก และผลกระทบทางร่างกายที่ทำให้เกิดความไม่สบายหรือเจ็บป่วยจากการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังสนใจในประสบการณ์ของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงจากความสุขสู่ความทุกข์เมื่ออาหารไหลออกในวันต่อไป จุดมุ่งหมายคือการสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพและการหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่เหมาะสมเพื่อป้องกันโรคต่างๆที่อาจเกิดขึ้น เช่น หิดเปื่อย กะสิ่งอื่นๆ สรุปได้ว่าผู้คนควรทราบถึงผลหลังการบริโภคและการสังเกตอาการเพื่อดูแลสุขภาพให้ดีอย่างถูกต้อง

หัวข้อประเด็น

-การไหลออกของอาหาร
-โรคจากอาหารไม่ดี
-ผลกระทบต่อสุขภาพ
-ความสำคัญของการเลือกอาหาร
-ความปฏิกูลในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 12 ผม ขน เล็บ ฟัน เป็นต้นขึ้นได้ ที่ย่อมไม่ดี (กลับ) ก่อโรค ตั้ง ๑๐๐ ชนิดขึ้น เป็นต้นว่า หิดเปื่อย คิดด้าน คุดทะราด เรื้อน กลาก หืด ไอ และลงแดง" นี้ผลของมัน" (นิสสนฺทโต - ปฏิกูลโดยการไหลออก (ความปฏิกูล) โดยการไหลออก เป็นอย่างไร ? ความปฏิกูล โดยการไหลออก จึงเห็นลงอย่างนี้ว่า "ก็อาหารนั่น เมื่อกลืนลงไป เข้าไปช่องเดียว (แต่) เมื่อไหลออก ไหลออกจากหลายช่อง อย่างเช่นว่า มูลตา (ไหลออก) จากตา มูลหู (ไหลออก) จาก หู อนึ่ง อาหารนั่น ในคราวกิน กินกับพรรคพวกมากคนก็มี แต่ ในคราวไหลออกมันกลายเป็นของไม่สะอาด มีอุจจาระปัสสาวะเป็นต้น ไปเสียแล้ว ก็ถ่ายออกแต่คนเดียว อนึ่ง ในวันที่หนึ่ง คนกินมัน ร่าเริง เบิกบานใจ เกิดปีติโสมนัสก็มี (แต่) ในวันที่สองมันไหล ออก คนปิดจมูก เบือนหน้า เกลียด กระดาก อนึ่ง ในวันที่หนึ่ง คนยินดี ละโมบ ติดใจ สยบ กลืนมันลงไปก็มี แต่พอวันที่สอง เพราะค้างอยู่คืนเดียวก็สิ้นยินดี เกิดเป็นทุกข์ อาย รังเกียจ ถ่าย ออกไป เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลายจึงกล่าวไว้ว่า * โรคลงแดง เกิดเพราะอาหารย่อมไม่ดี หรือไม่ย่อย นี้ติดจะลึก ! ทำให้นึกคลาง แคลงศัพท์อติสาร แปลว่า โรคลงแดง ถูกแล้วหรือ ได้พบลางแห่งแปลว่า โรคบิด ก็เข้าเค้าเหมือนกัน แต่ถ้าแปลเสียว่า โรคท้องร่วง หรือ ลงท้อง ก็จะหมดปัญหา ในที่นี้ เพราะว่าอาหารย่อยไม่ดีหรือไม่ย่อย เกิดเป็นพิษขึ้นก็ทำให้ท้องร่วง ฟังได้สนิท.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More