การเจริญอุปจารสมาธิและนิโรธสมาบัติในพระอริยะ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 82
หน้าที่ 82 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงการเจริญอุปจารสมาธิและอานิสงส์ของนิโรธสมาบัติในเหล่าพระอริยะ โดยเฉพาะการเข้าถึงนิโรธนิพพานที่มีผลต่อจิตใจและการดำรงอยู่ในสุขชั้นสูงในภพชีวิต โดยพระสารีบุตรได้เสนอความรู้เกี่ยวกับการเป็นวสีในการเข้าถึงนิโรธสมาบัติผ่านญาณจริยา ๑๖ และสมาธิจริยา ๘ ซึ่งช่วยให้ผู้ปฏิบัติสามารถดำเนินสู่สภาวะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างคล่องแคล่วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการอภิปรายเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างญาณและสมาธิที่เกี่ยวข้องกับนิโรธสมาบัติซึ่งมีพื้นฐานมาจากแนวทางวิปัสสนาและความหมายของคำในการศึกษา

หัวข้อประเด็น

-อุปจารสมาธิ
-นิโรธสมาบัติ
-พระอริยะ
-ญาณจริยา
-สมาธิจริยา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 82 ฌานอันยังเป็นปริตกุศลได้แล้ว (ตายไป) ได้กำเนิดที่ไหน ? ตอบว่า ได้กำเนินร่วมกับพวกเทพเหล่าพรหมปาริสัชชา " ดังนี้เป็นอาทิ" ส่วน การเจริญอุปจารสมาธิเหล่า ก็นำภพวิเศษคือสุคติชั้นกามาวจร ๖ มาให้ เหมือนกัน [มีนิโรธเป็นอานิสงส์] (๕) ส่วนว่าพระอริยะเหล่าใดยังสมาบัติ ๘ ให้เกิดแล้วเข้านิโรธ สมาบัติ เจริญสมาธิด้วยประสงค์ว่า จักเป็นผู้ไม่มีจิต (คือดับความคือ เสีย) (เข้า) ถึงนิโรธนิพพานอยู่สำราญในทิฏฐธรรมนี่สัก ๒ วันเถิด การเจริญอัปปนาสมาธิแห่งพระอริยะเหล่านั้น ชื่อว่ามีนิโรธเป็นอานิสงส์ เหตุนั้น พระสารีบุตรจึงกล่าวไว้ว่า "ความรู้ในการเจริญความเป็นวสี (คล่องแคล่วในการเข้านิโรธสมาบัติ) ด้วยญาณจริยา (ทางญาณ) ๑๖ ด้วยสมาธิจริยา (ทางสมาธิ") 8 จัดเป็นญาณในนิโรธสมาบัติ" คือยังเกี่ยวด้วยวัตถุกาม เพราะยังมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ ด. ๒. อภิ. วิ. ๒๕/๕๗๑. ๓. . มหาฎีกาว่า "ญาณจริยา ๑๖ คืออนิจจานุปัสสนา ทกฺขานุปัสสนา อนัตตานุปัสสนา นิพพิทานุปัสสนา วิราคานุปัสสนา นิโรธานุปัสสนา ปฏินิสสัคคานุปัสสนา วิวัฏฏานุ ปัสสนา เป็น ๘ รวมกับมรรคญาณและผลญาณ ๘ เป็น ๑๖ ส่วนสมาธิจริยา ๔ หมายเอา สมาธิในรูปฌาน ๕ อรูปกฌาน ๔ ลางอาจารย์ว่า ได้แกสมาธิในรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ เพิ่มอุปจารสมาธิแห่งฌานทั้ง 4 นั้นเข้า ๑ เป็น 8. ตรงนี้ ไม่เข้าใจตลอดสาย ข้อต้นไม่เข้าใจว่า คำในปฏิสัมภิทาที่ท่านชักมาอ้างนั้น สมกับเรื่องเข้านิโรธสมาบัติตรงไหน ? ข้อสอง นิโรธสมาบัติ ถึงจะมีญาณอะไร ก็คง เป็นโลกิยะอยู่ แต่ท่านแก้ญาณจริยาถึงมรรคถึงผลอันเป็นโลกุตตระ จะไปกันได้หรือ ? ข้อสาม สมาธิจริยา น่าจะแก้ตามตามแนวอนุปุพวิหาร ๔ ให้เข้าเรื่องนิโรธสมาบัติไป ? ๔. ขุ. ป. ๓๑/๑๔๓.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More