สมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสารีบุตรและสัญชีวะ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 105
หน้าที่ 105 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้กล่าวถึงสมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสารีบุตรและท่านสัญชีวะ โดยท่านสารีบุตรขณะนั่งอยู่กลางแจ้งนับว่าเป็นพระเถระที่มีอิทธิฤทธิ์เมื่อเผชิญหน้ากับยักษ์ในขณะที่ท่านสัญชีวะมีอานุภาพในการเข้าสมาธิแม้ในสถานการณ์อันตราย ร่างกายไม่ถูกไฟไหม้จนทำให้ผู้คนเข้าใจผิดว่าท่านเสียชีวิตไป ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถดูได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

- สมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสารีบุตร
- สมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสัญชีวะ
- พระพุทธศาสนาและอิทธิฤทธิ์
- พุทธประวัติของสารีบุตรและสัญชีวะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 105 [สมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสารีบุตร] ในท่านเหล่านั้น เมื่อครั้งท่านสารีบุตรพักอยู่ที่วิหาร ชื่อ กโปตกันทรา (ซอกเขานกพิราบ) กับพระมหาโมคคัลลานเถระ ปลง ผมใหม่ ๆ นั่งอยู่กลางแจ้งในคืนเดือนหงาย ยักษ์ร้ายตนหนึ่ง แม้ยักษ์ สหายห้ามอยู่ (ก็ไม่ฟัง) ประหารลงไปที่ศีรษะ (ท่าน) มีเสียงดัง ราวกะเสียฟ้าร้อง เวลามันประหาร พระเถระเข้าสมาบัติแน่วอยู่ ครั้งนั้น อาพาธอะไร ๆ มิได้มีแก่ท่าน เพราะการประหารนั้นเลย นี่ สมาธิวิปฺผาราอิทธิ ของท่าน (สารีบุตร) นั้น ส่วนเรื่อง (ละเอียด) มาในอุทานแล [สมาธิวิปผาราอิทธิของท่านสัญชีวะ] ฝ่ายพระสัญชีวเถระเข้านิโรธอยู่ พวกโคบาลหมายว่าท่านตาย จึงสุมหญ้าไม้และมูลโค (แห้ง) เข้า (ทับตัวท่าน) แล้วจุดไฟขึ้น แม้ แต่เส้นด้ายในจีวรของท่านก็มิได้ไหม้ (ไม่ต้องกล่าวถึงร่างกายท่าน) นี้เป็น สมาธิวิปผาราอิทธิ ของท่าน (สัญชีวะ) ซึ่งเกิดแต่อานุภาพ แห่งสมถะ อันเป็นไปโดยอำนาจอนุบุพสมาบัติ ส่วนเรื่อง (ละเอียด) มาในพระสูตรแล ๑ * มหาฎีกาว่า พระสัญชีวะ นี้ หมายถึงพระสัญชีวะมหาเถระ ผู้เป็นพระอัครสาวกที่ ๒ ของพระผู้มีพระภาคกกุสันธะ ท่านนั่งอยู่ที่ใด ๆ ก็เข้านิโรธได้ไม่สู้ยาก และว่า เพราะ ถูกเขาคลอกด้วยไฟก็ไม่เป็นอะไรนั่นแหละ ท่านจึงได้นามว่า "สัญชีวะ" (ตรงกับที่ไทย เราเรียกว่า "พระรอด" นั่นเอง !)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More