การเข้าใจกรรมภายในและกรรมภายนอกในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 244
หน้าที่ 244 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้อธิบายความเข้าใจเกี่ยวกับกรรมทั้งภายในและภายนอกตามแนวทางของอัชฌัตตารมณ์และพหิทธารมณ์ในวิสุทธิมรรค โดยเฉพาะในอารมณ์ ๕ แห่งยถากัมมูปคญาณ ที่บัณฑิตควรทราบและเข้าใจความแตกต่างระหว่างการรู้กรรมของตนเองและกรรมของผู้อื่น เช่น การร่วมทำกรรมแล้วทั้งสองได้รับผลร่วมกัน ซึ่งถือเป็นอัชฌัตตพหิทธารมณ์ และชี้ให้เห็นถึงวิธีการที่ควรใช้ในการทำความเข้าใจ

หัวข้อประเด็น

-อารมณ์ ๕ แห่งยถากัมมูปคญาณ
-ความหมายของอัชฌัตตารมณ์
-ความหมายของพหิทธารมณ์
-การร่วมทำกรรมและการเข้าใจกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 243 ก็เป้นมหัคคตารมณ์ เป็นอดีตารมณ์ เพราะรู้แต่กรรมที่เป็นอดีต เท่านั้น ในกาบที่รู้กรรมของตนเอง เป็นอัชฌัตตารมณ์ ในกาลที่ รู้กรรมของคนอื่น ก็เป็นพหิทธารมณ์แล ความเป็นไปในอารมณ์ ๕ แห่งยถากัมมูปคญาณ บัณฑิตพึงทราบ โดยประการที่กล่าวมาฉะนี้ ส่วนว่า ในตอนที่กล่าวถึงอัชฌัตตารมณ์และพริธารมณ์นี้ คำใด กล่าวไว้ในโบราณอรรถกถาว่า "ยถากัมมูปคญาณเป็นทั้งอัชฌัตตา รมณ์และพริธารมณ์" ดังนี้ คำนั้นท่านกล่าวด้วยอธิบายว่า ยถา กัมมูปคญาณนั้น ในเวลาที่รู้ (กรรม) ภายใน (คือของตน) ตามกาล (กรรม) ภายนอก (คือของคนอื่น) ตามกาล (หมายความว่าลางคราว รู้กรรมภายใน ลางคราวรู้กรรมภายนอก ตามที่ตั้งใจจะรู้ ?) จะ นับเป็นอัชฌัตตพหิทธารมณ์บ้างก็ได้เท่านั้นเองและ บริเฉทที่ ๑๓ * ชื่ออภิญญานิเทศ ในปกรณ์วิเศษ ชื่อวิสุทธิมรรค อันข้าพเจ้าทำเพื่อประโยชน์แก่ความปราโมทย์แห่งสาธุชน ดังนี้ เกิดปัญหาขึ้นในตอนจบ มหาฎีกาว่าที่อธิบายอย่างนี้ก็หมายความว่าไม่ยอมเพิ่ม อัชฌัตตพหิทธารมณ์เข้าอีกข้อหนึ่ง และก็มิได้หมายว่าทำสองอย่างนี้ให้มีอารมณ์เป็น อันเดียวกันด้วย คิดดูชอบกล จะรู้กรรมทั้งของคนอื่นในคราวเดียวกันบ้างไม่ได้หรือ เช่นเมื่อตนและใครคนหนึ่งทำกรรมอะไรร่วมกัน แล้วมาได้รัวผลเช่นเดียวกัน เมื่อ ทำยถากัมมูปคญาณให้เกิดขึ้นแล้ว ก็รู้ได้ในคราวเดียวว่า ตนและใครคนนั้นทำกรรมอะไร ไว้ด้วยกัน อย่างนี้เป็นอัชฌัตตพหิทธารมณ์ ไม่ได้หรือ จะได้ครบติกะ คือัชฌัตตารมณ์ พหิธารมณ์ และอัชฌัตตพพิธทธารมณ์ (?)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More