น้ำมูกและไขข้อในร่างกาย วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 51
หน้าที่ 51 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างน้ำมูกและไขข้อในร่างกาย โดยใช้อุปมาว่าน้ำมูกและไขข้อไม่สามารถรับรู้ถึงซึ่งกันและกัน เช่นเดียวกับน้ำมันที่ทาเพลา หรือเปลือกหอยโข่งที่มีนมส้มอยู่ด้านใน กล่าวถึงว่าเป็นธรรมซึ่งไม่มีการคิดหรือรู้สึกตัว เป็นอำนาจที่ว่างจากอัตตา อธิบายแนวคิดพุทธศาสนาเกี่ยวกับสิ่งที่ปราศจากวิญญาณหรือความคิด

หัวข้อประเด็น

-น้ำมูกและร่างกาย
-ไขข้อและการทำงาน
-อำนาจแห่งธรรม
-มุมมองทางพุทธศาสนา
-ศีลธรรมในร่างกาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - สิงฆาณิกา - น้ำมูก - หน้าที่ 51 ว่า "น้ำมูก เกิดขึ้นเมื่อใด เมื่อนั้นมันก็ (ขัง) เต็มโพรงจมูก อยู่บ้าง ไหลออกมาบ้าง ในโพรงจมูกกับน้ำมูกนั้น โพรางจมูกหารู้ ไม่ว่าน้ำมูกอยู่ในเรา น้ำมูกเล่าก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ในโพรงจมูก เปรียบ เหมือนใน (เปลือก) หอยโข่งที่เต็มด้วยนมส้มเสีย (เปลือก) หอย โข่งหารู้ไม่ว่านมส้มเสียอยู่ในเรา นมส้มเสียเล้าก็หารู้ไม่ว่าเราอยู่ใน (เปลือก) หอยโข่ง ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจาก ความคิดคำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อันน้ำมูก เป็นโกฏฐาส แผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จาก อัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของเหลว มีอาการซึมซาบ ได้ เป็นอาโปรธาตุ ด้วยประการฉะนี้ " ลสิกา - ไขข้อ ว่า "ไข้ข้อ ทำกิจคือการทาที่ต่อแห่งกระดูกทั้งหลายให้สำเร็จ อยู่ในที่ต่อ (แห่งกระดูกประมาณ) ๑๙๐ แห่ง ในที่ต่อ ๑๘๐ แห่ง กับไข้ข้อนั้น ที่ต่อ ๑๘๐ แห่งหารู้ไม่ว่า ไขข้อทาเราติดอยู่ ไขข้อเล่า ก็หารู้ไม่ว่า เราทาที่ต่อ ๑๘๐ แห่งติดอยู่ เปรียบเหมือนในเพลาที่คน ทาด้วยน้ำมัน เพลาหารู้ไม่ว่าน้ำมันทาเราติดอยู่ น้ำมันเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราทาเพลาติดอยู่ ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจาก ความคิดคำนึง และไตร่ตรองถึงกันและกัน อันไขข้อเป็นโกฏฐาส แผนกหนึ่งในร่างกายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จาก
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More