อานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 79
หน้าที่ 79 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงสมาธิที่สำคัญในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ ซึ่งเป็นสมาธิที่บำเพ็ญเพื่อความเจริญของจิตและการเข้าถึงสมาบัติ อธิบายถึงอานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิที่มีถึง 5 ประการ เช่น ความสุขในภพปัจจุบัน สมาธิช่วยให้ภิกษุอรหันต์ที่เจริญสมาธิอาจมีสภาพจิตที่มีสุขอย่างต่อเนื่อง การบำเพ็ญสมาธิช่วยเสริมสร้างจิตใจให้เข้มแข็งและมีสติ คำสอนในบทนี้มาจากพระผู้มีพระภาคเจ้ามหาฎีกา ที่อธิบายถึงจิตตุบาทแห่งฌาน 4.

หัวข้อประเด็น

-สมาธิ
-อานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิ
-อัปปนาสมาธิ
-อุปจารสมาธิ
-การเจริญจิตใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

* ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 79 สมาธินี้นั้นก็มีเพียงสองอย่างเท่านั้น ซึ่งเป็นสมาธิที่ประสงค์เอา ในที่นี้ คืออุปจารสมาธิ ๑ อัปปนาสมาธิ ๑ ในสมาธิสองอย่างนั้น อุปจารสมาธิก็คือเอกัคคตาในกรรมฐาน ๑๐ และในจิตอันเป็นบุพภาค แห่งอัปปนาทั้งหลาย อัปปนาสมาธิ ก็คือเอกัคคตาแห่งจิตในกรรมฐาน ที่เหลือ (๓๐) สมาธิทั้งสองอย่างนั้น จะชื่อว่ จะชื่อว่าเป็นธรรมอันพระ โยคาวจรได้เจริญแล้ว ก็เพราะกรรมฐานเหล่านั้นเธอได้บำเพ็ญแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าว่า "การพรรณนาความโดยทุกประการแห่ง (ปัญหา) ข้อว่า "สมาธิพึงบำเพ็ญอย่างไร" นี้ จบแล้ว" [อานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิ ส่วนใน (ปัญหา) ข้อที่กล่าวไว้ว่า "อะไรเป็นอาสิงสงส์แห่งการ บำเพ็ญสมาธิ " มีคำเฉลยว่า "อานิสงส์แห่งการบำเพ็ญสมาธิมี ๕ ประการ มีทิฏฐธรรมสุขวิหาร (ความอยู่สำราญในภพปัจจุบัน) เป็น อาทิ" จริงอย่างนั้น [มีทิฏฐธรรมสุขวิหารเป็นอานิสงส์] (๑) ภิกษุเหล่าใดเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ ย่อมเจริญสมาธิด้วย ประสงค์ว่า จักเข้าสมาบัติให้จิตมีอารมณ์เดียวอยู่เป็นสุขตลอดวัน การ เจริญอัปปนาสมาธิของภิกษุเหล่านั้น ชื่อว่าทิฏฐธรรมสุขวิหารเป็น อานิสงส์ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส (กะพระจุนทะ) มหาฎีกา หมายเอาจิตตุบาทอันเป็นบุพภาคแห่งฌาน ๔.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More