ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 216
"
เสวยสมบัตินั่น " ลำดับนั้น ญาณอันมีกรรมนั้นเป็นอารมณ์ จึงเกิด
ขึ้นแก่เธอว่า "(สัตว์เหล่านั้น) ทำกรรมชื่อนี้..." ความรู้นี้ชื่อ ยถา
กัมมุปคญาณ อันบริกรรมแผนกหนึ่งแห่งญาณนี้หามีไม่ และ
(บริกรรมแผนกหนึ่ง) แห่งญาณนี้ (ไม่มี) ฉันใด แม้ (บริกรรม
แผนกหนึ่ง) แห่งอนาคตตั้งญาณ (ก็ไม่มี) ฉันนั้น เพราะญาณอันมี
ทิพยจักษุเป็นบาท (คือเป็นพื้นฐาน) ทั้งหลายนั่นเอง ก็ย่อมสำเร็จมา
พร้อมกับทิพยจักษุญาณ
ญาณนี้แล
[ทุจริต]
ในบททั้งหลายมีบทว่า "กายทุจจริตเตน - ด้วยกามทุจริต" เป็นต้น
มีพรรณนาความว่า "ความประพฤติชั่ว หรือความประพฤติเสีย เพราะ
เป็นความประพฤติที่เน่าไปด้วยอำนาจกิเลส เหตุนั้นจึงชื่อทุจริต ความ
ประพฤติชั่วด้วยกาย หรือความประพฤติชั่วอันเกิดขึ้นทางกาย เหตุนั้น
จึงชื่อกายทุจริต" นับแม้ใน (สอง) บทนอกนี้ ก็ดุจนัยนี้ บทว่า
"สมนุนาคตา - มาตามพร้อม" คือ สมงคีภูตา - เป็นผู้ประกอบได้วย
[อริยุปวาท]
ข้อว่า "อริยานํ อุปวาทกา - ผู้ว่าร้ายพระอริยะทั้งหลาย" ความ
* ที่ว่าบริกรรมแผนกหนึ่งแห่งญาณนี้หามีไม่นั้น อ่านมหาฎีกากาดเหมือนท่านอธิบายว่า
ไม่มีแผนกหนึ่งต่างหากจากทิพยจักษุญาณ คือ ไม่ต้องดำเนินกรรมวิธีตั้งบริกรรม เพื่อญาณ
นี้โดยเฉพาะเป็นแผนกหนึ่งขึ้นใหม่เท่านั้น หาใช่ว่าไม่มีบริกรรมเสียเลยไม่ เพราะมน
สิกโรติ - ทำในใจ นั่นก็คือบริกรรมด้วยใครจะรู้กรรมของสัตว์เหล่านั้นเอง ทั้งนี้
ก็เพราะญาณนี้ (และอนาคตังสญาณด้วย) เกิดเนื่องกับทิพยจักษุญาณ ถ้ายังไม่ทิพ
จักษุญาณก่อนแล้ว ก็หาอาจทำให้ญาณนี้เกิดได้ไม่ จึงว่าญาณนี้มีทิพยจักษุญาณเป็นบาท