ข้อความต้นฉบับในหน้า
*
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 56
ลม พึงกำหนดเอาลักษณะที่แข้นเข็ง ที่แยกออกจากธาตุไฟนั้นไม่ได้ว่า
ธาตุดิน จึงกำหนดเอาลักษณะที่ซึมซาบที่แยกออกจากธาตุไฟนั้นไม่ได้
ว่า ธาตุน้ำ'
พึงกำหนดเอาลักษณะทีเขยื้อนได้ในโกฏฐาส ๖ ว่า ธาตุลม จึง
กำหนดเอาลักษณะที่แข้นแข็งในโกฏฐาส ๖ นั้นแหละว่า ธาตุดิน จึง
กำหนดเอาลักษณะที่ซึมซาบได้ในโกฏฐาส ๖ นั้นแหละว่า ธาตุน้ำ จึง
กำหนดเอาลักษณะทีร้อยในโกฏฐาส ๖ นั้นแหละว่า ธาตุไฟ
เมื่อพระโยคาวจรนั้นกำหนดไปอย่างนั้น ธาตุทั้งหลายย่อมจะ
ปรากฏ อุปจารสมาธิย่อมจะเกิดขึ้นแก่เธอผู้อาวัชชนาการไป มนสิการ
ไปซึ่งธาตุทั้งหลายนั้นแล้ว ๆ เล่าๆ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล
แต่เมื่อพระโยคาพจรผู้ใดแม้เจริญไปอย่างนั้น กรรมฐานก็ยังไม่
ๆ
สำเร็จ พระโยคาวจรผู้นั้นพึงเจริญโดยสลักขณวิภัติ (ต่อไป)
[เจริญโดยสลักขณวิภัติ
พึงเจริญโดยสลักขณวิภัติอย่างไร ? จึงจับเอาโกฏฐาสทั้งหลาย
มีผมเป็นอาทิ โดยนัยที่กล่าวมาก่อน (ในสสัมภารวิภัติ) นั้นแล มา
กำหนดดูลักษณะที่แข้นเข็งในผมว่า ธาตุดิน จึงกำหนดดูลักษณะที่
อธิบายตามนัยมหาฎีกาว่า ปฐวีโกฏฐาสมีผมเป็นต้น เป็นสิ่งที่มีรูปร่างต่างกันเป็น
ส่วน ๆ ธาตุอื่นมีอาโปรธาตุเป็นต้น ที่มีอยู่ในโกฏฐาสเหล่านั้นก็เป็นสิ่งที่รู้กันได้ง่าย แม้
อาโปโกฏฐาสมีน้ำดีเป็นอาทิเช่นกัน ถึงวาโยโกฏฐาสไม่มีรูปร่างสีสัณฐาน ก็อาจ
กำหนดถือเอาเป็นสัดเป็นส่วนได้ แต่ธาตุลม ดิน น้ำที่มีอยู่ในเตโชโกฏฐาสทั้ง ๔ นั่น
รู้ได้ยาก เพราะแยกไม่ออก ถึงกระนั้นก็มีอยู่แน่ ๆ เพราะถ้าไม่มีธาตุอื่นๆ ธาตุไฟก็
ไม่ปรากฏ (?).