วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 39 วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 39
หน้าที่ 39 / 244

สรุปเนื้อหา

ในหน้าที่ 39 ของวิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ กล่าวถึงธรรมชาติของร่างกายที่ปราศจากความคิดและการตั้งอยู่ของตับในระบบสรีระ โดยเปรียบเทียบถึงการไม่มีอัตตา และความเป็นของแข็งที่ไม่สามารถแยกสัตว์หรือวิญญาณได้ ข้อความยังยกถึงโครงกระดูกอกว่าเป็นเหมือนซี่กรงและไม่มั่นคง เพื่อบรรยายถึงสภาพที่คร่ำเครียดของร่างกายและธรรมชาติที่แท้จริงของการมีอยู่

หัวข้อประเด็น

-การวิเคราะห์ธรรมชาติของร่างกาย
-การตั้งอยู่ของตับ
-ประเด็นทางธรรมะ
-ความเป็นอัพยากฤต
-โครงกระดูกและธรรมชาติ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 39 คานหามเก่า” ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิด คำนึงและไตร่ตรองถึงกันและกัน อันหัวใจเป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่ง ในร่างกายนี้ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หา สัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วย ประการฉะนี้ " ยกนิ-ตับ ๆ ว่า " ตับ ตั้งอยู่ติดสีข้าง ๆ ขวาในส่วนในของนมทั้งสองภายใน สรีระ ในสีข้าง ๆ ขวาส่วนในของนมกับตับนั้น สีข้าง ๆ ขวาใน ส่วนในของนมรู้ไม่ว่า ตับตั้งติดเราอยู่ ตับเล่าก็หารู้ไม่ว่า เราตั้ง ติดสีข้าง ๆ ขวาในส่วนในของนมอยู่ เปรียบเหมือนในชิ้นเนื้อคู่อันติด อยู่ที่ข้างของกระเบื้องหม้อ ข้างของกระเบื้องหม้อหารู้ไม่ว่า ชิ้นเนื้อคู่ ติดอยู่ที่เรา ชิ้นเนื้อคู่เล่าก็หารู้ไม่ว่า เราติดอยู่ที่ข้างของกระเบื้องหม้อ ฉะนั้น ธรรม (คือสิ่ง) ทั้งหลายนั่น ปราศจากความคิดคำนึงและ ไตรตรองถึงกันและกัน อันตับ (นั่น) เป็นโกฏฐาสแผนกหนึ่งในร่าง กายนี้ ไม่มีความคิด เป็นอัพยากฤต ว่างเปล่า (จากอัตตา) หาสัตว์ (คือวิญญาณ) มิได้ เป็นของแข้นแข็ง เป็นปฐวีธาตุ ด้วยประการฉะนี้ " กิโลมก์ - พังผืด " ว่า " ในพังผืดทั้งหลาย พังผืดชนิดปกปิด ล้อม (หุ้ม) ทั้งหทัย มหาฎีกาว่า โครงกระดูกอก ท่านเรียกว่า ซี่กรงกระดูกอก เพราะโครงกระดูกอกนั้น คล้ายซี่กรง และที่เปรียบด้วยซี่กรงคานหามเก่า ๆ ก็เพื่อแสดงภาวะที่โครงกระดูกอก เป็นของคร่ำเขรอะ และมิใช่ของมั่นคงอันใด
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More