ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 171
อภิญญานิเทศ
ทิพพโสตธาตุกถา
บัดนี้ ลำดับนิเทศแห่งทิพพโสตธาตุมาถึงแล้ว อรรถแห่งบาลี
(อภิญญา) มีคำว่า "โส เอว สมาหิเต จิตฺเต ภิกษุนั้น ครั้นจิต
เป็นสมาธิ ... อย่างนี้แล้ว " เป็นต้น ในทิพพโสตธาตุนิเทศนั้นก็ดี
ในอภิญญา ๓ ต่อนั้นไปก็ดี” พึงทราบโดยนับที่กล่าวแล้ว (ในตอน
ต้นอิทธินิเทศ) เถิด ข้าพเจ้าจักพรรณนาแต่คำที่แปลกกันเท่านั้น
ในอภิญญาทั้งปวง
[อรรถาธิบายศัพท์บาลีทิพพโสต]
ในบาลี (ทิพพโสต) นั้น พึงทราบอรรถาธิบาย ในคำว่า
"ทิพฺพาย โสตธาตุยา - เพื่อโสตธาตุอันเป็นทิพย์" นี้ โสตธาตุ
นั้น ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นเช่นของทิพย์ จริงอยู่ จริงอยู่ ธาตุคือ
ประสาทหูของเทวดาทั้งหลาย เป็นธรรมชาติที่เกิดด้วยสุจริตกรรม อัน
โทษทั้งหลาย มีน้ำดี เสมหะ และโลหิตเป็นต้น ไม่ขัดขวาง สามารถ
รับอารมณ์แม้ในที่ไกลได้ เพราะพ้นจากโทษเครื่องขุ่นมัว จึงเป็นทิพย์
แม้ธาตุคือญาณโสต (ประสาทหูอันสำเร็จด้วยญาณ) อันเกิดด้วยกำลัง
แห่งวิริยภาวนา"ของภิกษุนี้นี่เล่า ก็เป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุ
โปรดนึกทบทวนว่าโลกิยอภิญญานั้นมี ๕ อธิบายมาแล้ว ๑ คืออิทธิวิธี ทิพโสต
นี้เป็นที่ ๒ จึงเหลืออีก ๓
๑.
๒. วิริยภาวนา ถ้าให้เราแปลก็คงแปลว่า "การบำเพ็ญเพียร" ง่าย ๆ เท่านั้นเอง แต่
มหาฎีกาท่านไม่ง่าย ท่านแก้ไว้ว่า กุศลภาวนาทั้งปวง เรียกว่าวิริยาภาวนา เพราะสำเร็จ
ด้วยอำนาจวิริยารัมภะทั้งนั้น แต่เมื่อว่าโดยพิเศษ ในที่นี้ก็ได้แก่อิทธิบาทภาวนา