ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 186
ปัญญาทรามจะเห็นได้ แม้กระนั้น ภิกษุนั้นก็ไม่ควรทำความทอดธุระ
เสียว่า "เราไม่อาจที่จะเพิกปฏิสนธิเสีย ทำนามรูปที่เป็นไปในขณะจุติ
ให้เป็นอารมณ์ได้" แต่ว่าควรเข้าฌานที่เป็นบาทนั้นแหละบ่อยๆ และ
ออกจากฌานนั้นแล้วก็พึงอาวัชนาการถึงฐานะนั้น (ไป) เถิด ด้วยว่า
เมื่อทำไปอย่างนั้น ก็เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง เมื่อตัดต้นไม้ใหญ่เพื่อ
ประโยชน์ (จะทำ) เป็นช่อฟ้าของเรือนยอด แม้เมื่อคมขวานบิ่น
เสียด้วยเพียงแต่ตัดกิ่งใบ ไม่อาจตัดต้นใหญ่ได้ ก็ไม่ทำความทอดธุระ
เสียเลย พึง (ถือขวานนั้น) ไปโรงช่างเหล็ก ให้ช่างเหล็กทำขวาน
(นั้น) ให้คมแล้วมาตัดอีก และเมื่อมันบินอีก ก็ให้ช่างทำอย่างนั้น
แล้ว (มา) ตัดอีกอยู่นั่น บุรุษนั้น (เพียร) ตัดไปอย่างนั้น ไม่นา
นักก็จะพึงโค่นต้นไม้ใหญ่ลงได้ เพราะ (เนื้อ) ไม้ที่ตัดแล้วไม่เป็นสิ่ง
ที่จะต้องตัดอีก และเพราะตัดแต่ที่ยังไม่ได้ตัด ฉันใดก็ดี ภิกษุออกจาก
ฌานที่เป็นบาทแล้ว ไม่อาวัชนาการถึงกิจที่อาวัชนาการมาก่อนแล้ว
อาวัชนาการแต่ปฏิสนธิอย่างเดียว ไม่นานนักก็จะพึงเพิกปฏิสนธิ ทำ
นามรูปอันเป็นไปในขณะจุติให้เป็นอารมณ์ได้ ก็ฉันนั้นเหมือนกันแล
ความข้อนี้ บัณฑิตพึงแสดงด้วยเรื่องอื่น ๆ มีเรื่องคนผ่าฟืน
และช่างปลงปมเป็นต้นบ้างก็ได้
[ความรู้ตอนที่เป็นปุพเพนิวาสญาณ]
ในกิจเหล่านั้น ญาณที่ทำ (กิจ) จำเดิมแต่การนั่งครั้งสุดท้าย
จนถึงการปฏิสนธิให้เป็นอารมณ์เป็นไป หาได้ชื่อว่าปุพเพนิวาสญาณ