จุตูปปาตญาณ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 211
หน้าที่ 211 / 244

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เป็นการพรรณนาความรู้ในจิตและอุปบาตของสัตว์ โดยอธิบายถึงจุตุปปาตญาณ ซึ่งสามารถนำไปสู่การเข้าใจความเคลื่อนไหวและการเกิดขึ้นของสัตว์ต่างๆได้ พร้อมด้วยความรู้เกี่ยวกับธาตุที่เกิดขึ้นภายใน จงถึงการมองเห็นของเทวดาที่ใช้ธรรมชาติของญาณที่เชื่อมโยงกับกรรมดี อุปบาต และความสามารถในการรับอารมณ์ที่ไกลได้ โดยปราศจากโทษที่ขัดขวาง รวมถึงการเข้าใจถึงทิพยจักษุ การนำจิตมุ่งไปในการศึกษาธรรม ทำให้สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาจิตใจ. dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-จุตูปปาตญาณ
-วิสุทธิมรรค
-ญาณ
-พุทธศาสนา
-ทิพยจักษุ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 211 จุตูปปาตญาณกถา พรรณนาความ ในเรื่องความรู้ในจิตและอุปบาต แห่งสัตว์ทั้ง หลาย พึงทราบ (ดังต่อไปนี้) [แก้อรรถบาลีจุตูปปาตญาณ] คำว่า "เพื่อจุตูปปาตญาณ "คือ เพื่อความรู้ในจุติและในอุปบาต มีอธิบายว่า "ความเคลื่อนไป และความเกิดขึ้นแห่งสัตว์ทั้งหลาย อัน พระโยคาวจรรู้ได้ด้วยญาณอันใด เพื่อญาณอันนั้น คือเพื่อทิพจักขุ ญาณ" คำว่า "นำจิตมุ่งไป น้อมจิตไปเฉพาะ คำว่า "โส" คือภิกษุผู้มี การนำจิตมุ่งไปได้ทำมาแล้วนั้น ส่วนในคำทั้งหลาย มีคำว่า "ทิพเพน -เป็นทิพย์" เป็นต้น (มีพรรณนาความดังนี้) [ทิพยจักษุ] จักษุชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นเช่นของทิพย์ จริงอยู่ ประสาท จักษุของเทวดาทั้งหลาย เป็นธรรมชาติเกิดด้วยกรรมเป็นสุจริต โทษ ทั้งหลายมี น้ำดี เสมหะ และเลือดเป็นต้น ไม่ขัดขวาง สามารถรับ อารมณ์แม้ในที่ไกลได้ เพราะพ้นจากโทษเครื่องขุ่นมัว จึงเป็นทิพย์ แม้ญาณจักษุอันเกิดด้วยกำลังแห่งวิริยภาวนานี้เล่า ก็เป็นเช่นนั้นเหมือน กัน เพราะเหตุนั้น จึงว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นเช่นของทิพย์ (นัย หนึ่ง ) ชื่อว่าเป็นทิพย์เพราะได้มาเฉพาะ ด้วยอำนาจทิพยวิหาร (คือ * ดูเชิงอรรถ ๒ หน้าต้นอภิญญานิเทศ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More