การเกิดขึ้นของข้าวสาลีและความเป็นชายหญิงในวิสุทธิมรรค วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 199
หน้าที่ 199 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาพูดถึงการปรากฏตัวของข้าวสาลีที่ไม่ต้องหุงด้วยไฟฟืน และการเกิดขึ้นของบุตรชายและหญิง พร้อมการเข้าใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของอาหารต่างๆ เช่น ง้วนดินและเครือดิน ที่บรรยายถึงรสชาติและคุณค่าเชิงโภชนาการ รวมถึงความเกี่ยวข้องระหว่างเพศชายและหญิงในบริบทของการบริโภคอาหาร. คำว่าเครือดินและง้วนดิน เป็นอาหารละเอียดที่มีประโยชน์และไม่เหลือเป็นของเสีย การกำเนิดทวารและความสัมพันธ์ระหว่างเพศในระหว่างการเคลื่อนไหวของสัตว์

หัวข้อประเด็น

-การเกิดข้าวสาลี
-การกินอาหารในวิสุทธิมรรค
-การเกิดเพศชายและหญิง
-คุณสมบัติของอาหารละเอียด
-ความสัมพันธ์ระหว่างเพศในสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 199 แม้เครือดินก็หายไปเสียอีก” ข้าวสาลีที่ไม่ต้องหุงด้วยไฟฟืน เป็น เมล็ดข้าวสารไม่มีรำไม่มีแกลบมีกลิ่นหอม เกิดปรากฏขึ้น (แทน) ต่อนั้น ภาชนะทั้งหลายก็เกิดขึ้นแก่สัตว์เหล่านั้น พวกเขาบรรจุข้าวสาลี ลงในภาชนะแล้วตั้งไว้ที่หลังแผ่นหิน เปลวไฟลุกขึ้นหุงข้างสาลีนั้น เองแหละ มันก็เป็นข้างสวย เช่นดังดอกมะลิ (ตูม) ทีเดียว กิจด้วย แกงหรือกับก็ตาม หามีแก่ข้าวนั้นไม่ สัตว์ทั้งหลายใคร่จะกินข้าวมีรส (อย่าง) ใด ๆ มันก็เป็นข้าวมีรส (อย่าง) นั้น ๆ เอง [เกิดบุตรกรีส ทวาร และเมถุน] เมื่อสัตว์เหล่านั้นกินอาหารหยาบนั้นเข้าไป แต่นั้นบุตรและกรีส ก็เกิดมา ทีนี้ ปากแผล (คือทวารทั้ง ๙) ก็แตกออก เพื่อประโยชน์แก่ การถ่ายมูตรและกรีสนั้นของสัตว์เหล่านั้น ความเป็นชายจึงเกิดปรากฏ ขึ้นแก่คนผู้ชาย ความเป็นหญิงก็เกิดปรากฏขึ้นแก่คนผู้หญิงด้วย ใน ชายและหญิงนั้น ว่ากันว่า ผู้หญิงจ้องดูผู้ชาย และผู้ชายก็จ้องดูผู้หญิง Q. ง้วนดิน (รสปฐวี) สะเก็ดเดิน (ภูมิปปปฎก) เครือดิน (ปทาลตา) ท่านว่าเป็น ของละเอียด กินแล้วระงับความหิวระหายได้ มีรสซาบซ่านไปบำรุงร่างกาย ไม่มีอะไร เหลือเป็นกาก คล้ายสุธาหาร (คืออาหารทิพย์ของเทวดา) ง้วนดิน คือโอชะของดิน ยังเป็นรสคือเป็นของเหลวข้น ๆ ว่าหวานอร่อยนัก สะเก็ดเดิน ท่วงทีก็จะง้วนดินนั่นเอง แต่หมาดเข้าแล้วแตกระแหงเป็นสะเก็ด คือเป็น ชิ้นย่อยๆ เครือดิน คือดินนั้นแห้งเข้า ก็ที่จะก่อเกิดเป็นพืชชนิดเลื้อยไปตามดิน แต่ยัง ไม่เป็นพืชแท้ แต่อย่างไรก็ตาม ก็คงยังเป็นอาหารละเอียดดังกล่าวแล้ว จึงเรียกว่าเครือดิน ในไตรภูมิวินิจฉันว่า มีสัณฐานดังผักบุ้งและแพวพวย ๒. มหาฎีกาแสดงว่า โยรส ตัตรโส เป็นบทสมาส,
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More