ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 8
ทำให้เป็นคำวางลงในปากแล้ว ฟันล่างทำกิจแห่งครก ฟันบททำกิจ
แห่งสาก ลิ้นทำกิจแห่งมือให้สำเร็จไป บิณฑบาตนั้น อันโขลกด้วย
สากคือฟัน พลิกไปมาอยู่ด้วยลิ้น ราวกะข้าวสุนัขในรางข้าวสุนัขอยู่
ในปากนั้น น้ำลายใสจางที่ปลายลิ้นก็เปื้อนเอา น้ำลายข้นแต่กลางลิ้น
เข้าไปก็เปื้อนเอา มูลฟันในที่ ๆ ไม่ชำระฟันไม่ถึงก็เปื้อนเอา บิณฑ
บาตนั้นที่แหลกและเปื้อนแล้วอย่างนี้ มีสีกลิ่นและการปรุงแต่อย่าง
วิเศษหานไปทันที กลับกลายเป็นของน่าเกลียดอย่างยิ่ง ดังสำรอก
ของสุนัขที่อยู่ในรางข้าวสุนัขฉะนั้น บิณฑบาตนั้นแม้เป็นอย่างนี้ก็เป็น
สิ่งที่พึงกลืนลงไปได้ เพราะมันล่วงคลองจักษุ (คือมองไม่เห็น)"
[อาสยโต - ปฏิกูลโดยอาสยะ]
(ความปฏิกูล) โดยอาสนะ (อาโปธาตุในลำไส้ที่ออกมาประสม
กับอาหารที่กลืนลงไป) เป็นอย่างไร ? ความปฏิกูล โดยอาสยะพึง
เห็นลงอย่างนี้ว่า "ก็แลอาหารที่ได้บริโภคเข้าไปแล้วอย่างนี้ เมื่อ
กำลังเข้าไปข้างใน (สำไส้) เพราะเหตุที่ในอาสยะ ๔ คือ ปิตตาสยะ
(อาสยะคือน้ำดี) เสมหาสยะ (อาสยะคือเสมหะ) ปุพพาสยะ
(อาสจยะคือบุพโพ) โลหิตาสยะ (อาสยะคือโลหิต) อาสยะอย่างใด
อย่างหนึ่งย่อมมีเป็นแท้ แม้แก่พระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธ แม้
* ต์ (ปิณฑปาติ) เป็นอวุตตกรรม ในมกุเขติ ทั้ง ๓ บท จะแปลเป็นอวุตตกรรม
ความจะฟังยากในภาษาไทย จึงแปลดัดไปอย่างนั้น