ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 119
อารมณ์เป็นหนึ่งไซร้ วิริยะมิใช่สมาธิ สมาธิก็มิใช้วิริยะ วิริยะเป็น
อย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง หากภิกษุอาศัยจิตตะ ได้สมาธิ ได้
ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไซร้ จิตตะมิใช่สมาธิ สมาธิก็มิใช่จิตตะ
จิตตะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง หากภิกษุอาศัยวิมังสาได้
สมาธิ ได้ความที่จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งไซร้ วีมังสามิใช่สมาธิ สมาธิก็
มิใช่วีมังสา วีมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิก็เป็นอย่างหนึ่ง เหล่านี้บท 4
แห่งฤทธิ เป็นไปเพื่อได้ฤทธิ ฯลฯ เพื่อความกล้าแห่งฤทธิ์ "๑ ดังนี้
เพราะเหตุที่ฉันทะ คือความเป็นผู้ใคร่จะยังฤทธิให้เกิดขึ้น ที่
ประกอบเข้าด้วยกันกับสมาธิแล้วเท่านั้น จึงเป็นไปเพื่อได้ฤทธิ อิทธิ
บาทที่เหลือมีวิริยะเป็นต้นก็อย่างนั้น เพราะเหตุนั้น บท 4 มีฉันทะ
เป็นต้นนี้ พึงทราบว่าท่านเรียกว่า บท 4 ในพระบาลีนั้น ๒
[มูล ๑๖ แห่งฤทธิ]
ความที่จิตไม่หวั่นไหวโดยอาการ ๑๖ พึงทราบว่า (เรียกว่า)
มูล ๑๖ สมบาลี (ในปฏิสัมภิทา) ว่า "ถามว่า มูลแห่งฤทธิ์มีเท่าไร
ตอบว่า มูลมี ๑๖ คือ
โกสัชชะ
เพราะไม่หวั่นไหวด้วย
(๑) จิตที่ไม่ฟุบลง ชื่อว่า อาเนญชะ เพรา
๑. ขุ. ป.๓๑/๕๕๐
๒. บท 4 นี้ ก็คือสมาธิที่ประกอบด้วยอิทธิบาท 4 มีฉัทธสมาธิเป็นต้น กับตัวอิทธิบาท ๔
มีฉันทธเป็นต้น ลำพังอิทธิบาทจะทำให้เกิดฤทธิ์หาได้ไม่ ต่อประกอบเข้าด้วยกันกับ
สมาธิ จึงจะสามารถทำให้เกิดฤทธิ์ได้