ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 135
หน้าที่ 135 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้เน้นถึงการแสดงธรรมของพระพุทธเจ้าและพระเถระธัมมทินนะในวันสำคัญ ขยายความเกี่ยวกับการทำอาวิภาวปาฏิหาริย์ พร้อมคำอธิบายเกี่ยวกับธรรม ๓ ประการที่บุคคลควรปฏิบัติ และการประเมินการเสด็จลงของพระพุทธเจ้าในท่ามกลางทวยเทพ โดยกล่าวถึงพฤติกรรมและอุปกรณ์การแสดงที่เกี่ยวข้อง อาทิ วาลวีชนี ซึ่งมีความหมายในเชิงปฏิบัติและความหมายที่ลึกซึ้งในธรรมะในพระพุทธศาสนา.

หัวข้อประเด็น

-การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า
-อาวิภาวปาฏิหาริย์
-ธรรม ๓ ประการ
-บทบาทของพระเถระธัมมทินนะ
-การประเมินการเสด็จลงจากทวโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 135 ได้ ๓ โยชน์ ท้าวสุยามถือวาลวัชนี" ปัญจสิขะ บุตรคนธรรพ์ ถือ พิณสีเหลืองดุจผลมะตูมสุก ยาวประมาณ ๓ คาพยุต ทำบูชาแด่พระ ตถาคตเจ้า (ด้วยเสียงพิณ ?) ลงมา ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้ได้เห็นพระผู้มีพระ ภาคเจ้าในวันนั้นแล้ว ไม่ยังความกระหยิ่มต่อความเป็นพระพุทธเจ้าให้ เกิดขึ้น (เฉย) อยู่ได้ ไม่มีแล” พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำอาวิภาว ปาฏิหาริย์นี้ในตอนนี้ (ตอนแรกพระโมคคัลลานทำดังกล่าวแล้ว) อีกเรื่องหนึ่ง ยังมีพระเถระชื่อธัมมทินนะ ชาว (เมือง) ตฟังกระ ในตามพปัณณิทวีป นั่งอยู่ ณ ลาน พระเจดีย์ในติสสะมหาวิหาร กล่าว (แสดง) อปัณณกสูตร โดยปาฐะว่า ตีหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อปณฺณกปฏิปท์ ปฏิปนฺโน โหติ - ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการ ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติอปัณณกปฏิปทา (ข้อปฏิบัติไม่ผิด) " ดังนี้เป็นอาทิอยู่ (พลาง) คว่ำพัดลง ที่แต่อเวจี ขึ้นมา (แลเห็นโล่ง) เป็นลานเดียว แล้วหงายพัดขึ้น ที่แต่พรหมโลก ลงมา (ก็แลเห็นโล่ง) เป็นลายเดียว พระเถระแสดงธรรม (โดย) สำทับ หยุดครองจีวรแล้วจึงเข้าบ้าน แม้พระพุทธองค์ก็ทรงทำอย่างนั้น แต่ในการเสด็จลงจาก ทวโลก ในท่ามกลางทวยเทพผู้ซึ่งล้วนแต่แต่งกายงดงาม แต่ส่วนพระพุทธองค์สิ ไม่ ทรงครอบพระจีวร ปล่อยพระองค์เถระ ๆ ลงมาอย่างนั้น จะน่าเสื่อมใสศรัทธา เป็น ทัสนานุตริยะหรือ ? ๑. วาลวีชนี คือพัดหรือแส้ทำด้วยขนสัตว์ สัตว์บทเทวโลกไม่มี ถ้าเทวดาจะทำขึ้นใช้ ก็ต้องหาอุปกรณ์ไปจากมนุษยโลกนี้ และมีอะไรให้ปัด จึงต้องทำขึ้นใช้ บนโน้นมีแมลง หรือไฉน ? ๒. ที่ว่า "กระหยิ่มต่อความเป็นพระพุทธเจ้า" นี้ ก็คงหมายความว่า เกิดอยากเป็นพระ พระพุทธเจ้าขึ้นมาบ้าง หรือพูดให้เข้าแบบกว่า ปรารถนาพุทธภูมิกันไปทุกคน กิเลส แบบนี้ (เอื้อมอาจ ?) นัยว่าเป็นกิเลสมาทางฝ่ายมหายานแต่ครั้งกระโน้น
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More