วิสุทธิมรรค ภาค ๒ ตอน ๒ วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 169
หน้าที่ 169 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับการอธิษฐานของภิกษุในการแสดงรูปร่างต่างๆ ตามวิสุทธิมรรค โดยกล่าวถึงการทำมโนมยาอิทธิฤทธิ์และการเปลี่ยนรูปร่างให้เป็นสิ่งอื่น เช่น ช้างและม้า พร้อมกับการวิจารณ์ถึงลักษณะของฤทธิ์ที่แตกต่าง กฏและแนวทางในการปฏิบัติที่สะท้อนถึงการควบคุมสมาธิและความสามารถทางจิตใจที่สามารถแสดงออกได้ในรูปแบบที่แตกต่างกันในสภาวการณ์ที่เหมาะสม.

หัวข้อประเด็น

-การอธิษฐาน
-ฤทธิ์ทางจิต
-มโนมยาอิทธิฤทธิ์
-รูปแบบการแสดงออก
-การควบคุมสมาธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - หน้าที่ 169 แสดงเป็น (พล) ช้างเป็นต้นขึ้นในภายานอกบ้าง” ในการแสดง ภายนอกนั้น เธอไม่อธิษฐานว่า "หตุถี โหมิ - เราจงเป็นช้าง" (แต่) จึงอธิษฐานว่า "หตุถี โหตุ-ช้างจงเป็นขึ้น" นับแม้ใน (การอธิษฐานเป็น) ม้าเป็นต้น ก็ดุจนัยนี้แล นี่ วิกุพฺพนาอิทฺธิ - ฤทธิบิดเบือน [มโนมยาอิทฺธิ - ฤทธิมโนมัย] ส่วนภิกษุผู้ใคร่จะทำมโนนัยฤทธิ์ ออกจากฌานที่เป็นบาทแล้ว ชั้นแรกก็นึกถึงกายแล้วอธิษฐานโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแลว่า "กาย จงเป็นโพรง" มันก็เป็นโพรงไป ครั้นแล้วนึกถึงกายอื่น (อีก กายหนึ่งซ้อนขึ้น) ในภายในภายนั้น ทำบริกรรมไปแล้ว อธิษฐาน โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละว่า "กายอื่น (อีกกายหนึ่ง) จงมีขึ้นใน กายนั้น " เธอก็ชัก"กายนั้นออกมาได้ ดังชักไส้ (หญ้า) ออกจาก " ๑. มหาฎีกาให้อรรถาธิบายว่า ข้อต้น ๆ ที่ประกอบวาศัพท์ หมายถึงบิดเบือนรูปร่างตน ให้เป็นรูปร่างอะไรต่าง ๆ แต่ละอย่าง ส่วน ๕ ข้อหลังที่ประกอบปิศัทพ์ หมายถึงบิด เบือนรูปร่างตนให้เป็นช้าง.... อย่าข้อต้น ๆ ก็ได้แสดงให้เป็นช้าง....ขึ้นนอกตัวก็ได้ แต่ลางอาจารย์ก็ค้านว่า ที่ว่าแสดงเป็นช้าง...ขึ้นนอกตัวนั้นผิดลักษณะวิกุพพนฤทธิ์ที่ กล่าวว่า ละรูปร่างปกติของตนแล้วแสดงเป็นรูปร่างต่าง ๆ ขึ้น คำค้านของเกจิอาจารย์ นี้ไม่ชอบ เพราะอะไร เพราะการ ไม่แสดงรูปร่างปกติของตนให้คนอื่นเห็น ก็นับเป็น ละรูปร่างปกติของตนได้ ไม่ใช่ต้องทำให้รูปร่างปกตินั้นหายให้คนอื่นเห็น ก็นับเป็น ๒. ปาฐะในวิสุทธิมรรคพิมพ์ไว้เป็น อนุภาคติ เข้าใจว่าพิรุธ ที่ถูกจะเป็น อุพพานติ (อุ. วห).
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More