ใหญ่ คือคนเล่นกล วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 65
หน้าที่ 65 / 244

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้พูดถึงภูตใหญ่และการตีความหมายของมหาภูต ว่ามีการเข้ามาหรือตั้งอยู่ภายในและภายนอกกันไม่ได้ นอกจากนี้ยังได้มีการแยกและวิเคราะห์ภาษาศาสตร์ในประโยคต่างๆ เพื่อให้เข้าใจความหมายที่ถูกต้อง โดยเฉพาะในกรณีของการรวมคำและการจัดเรียงคำอย่างมีระบบ ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะและการทำงานของจิตและธาตุทั้งหลาย ที่แม้จะมีความเกี่ยวข้องกัน แต่ไม่สามารถกล่าวอย่างชัดเจนได้ว่าเชื่อมโยงกันอย่างไร โดยมีการอ้างอิงถึงการปฏิบัติและการพิจารณาตามหลักการที่เหมาะสม

หัวข้อประเด็น

-ภูตใหญ่และการมีอยู่
-การแยกคำและการวิเคราะห์ภาษาศาสตร์
-ธาตุและจิตภายใน
-การตีความหมายของคำในบริบทต่างๆ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ใหญ่ คือคนเล่นกล ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 65 นัยหนึ่ง ภูตใหญ่ทั้งหลายมียักษ์เป็นต้น จับ (คือเข้าสิง) คน ผู้ใด ที่(จับ) “อยู่แห่งภูตเหล่านั้น ย่อมหาไม่พบเลยในภายใน (กาย) ของคนผู้นั้น (ถึง) ภายนอก (กาย) ของเขาก็หาไม่พบ และมันมิได้ แอบอิงคนผู้นั้นอยู่ก็หามิได้ ฉันใด แม้ภูตคือธาตุทั้งหลายนั้น ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ที่ตั้งอยู่ภายในกันและกันก็หาได้ ที่ตั้งอยู่ภายนอกกัน และกันก็หาไม่ได้ และมันมิได้อาศัยกันและกันอยู่ก็หาก็ได้ เพราะเหตุ นั้น ธาตุทั้งหลายนั้นจึงได้ชื่อว่า มหาภูต เพราะเสมอด้วยภูตใหญ่ มี ยักษ์เป็นต้น เหตุว่ามีที่อยู่อันคิด (หา) ไม่ได้” ประการ ๑ นัยหนึ่ง ภูตใหญ่ทั้งหลาย กล่าวคือยักษิณี ปกปิดภาวะที่ตน ๑. มหาภูต นัยนี้มหาฎีกาท่านให้แยกเป็น มหา + อพฺภูต (คนประหลาดใหญ่) หรือ มหา + อภูต (คนไม่จริงใหญ่) หมายถึงคนเล่ากล ซึ่งแสดงสิ่งประหลาด ๆ ได้มาก แต่ว่าล้วนไม่จริงทั้งนั้น ๒. ฐาน เป็นประธานในประโยคนี้ แต่ปาฐะเรียงไว้ติดกับพนิ เป็น พริฎฐาน ชวนให้ เขวไปว่า ฐาน เข้ากับ พหิ ศัพท์เดียว แต่ที่เดียวเข้ากับ อนฺโต ด้วย จึงควรเรียงแยกเป็น หหิ ฐาน จะได้ไม่ชวนเขว ๓. จิตานิ หากเป็นวิเสสนะดังที่แปลไว้นี้ ได้ความดีกว่าเป็นวิกติกัตตา ถ้าเช่นนั้น หุตวา น่าจะเกินเข้ามา ในที่นี้แปลตามที่เห็นว่าถูก, ๔. น ติฏฐนฺติ ตรงมนี้เห็นได้ว่าตก อิติ เพราะมีประโยครูปเดียวกัน เป็นที่เทียบอยู่ทั้ง ข้างหน้าและข้างหลัง ข้างหน้าคือ... อุปาทายรูป ทสฺเสนตีติ ข้างหลังคือ ทิฏฐิ น เทนตีติ ในที่นี้จึงแปลอย่างมี อิติ (เป็นเหตุ แปลว่า เพราะเหตุนั้น), ๕. อจินเตยยฏฐานตาย หากแปลว่า "เพราะความมีฐานะเป็นอจินไตย " หรือว่า "โดย ความเป็นฐานะไม่ควรคิด" อะไรก็แล้วแต่ ก็แปลได้ แต่ว่าไม่ส่องความที่กล่าวมาแล้ว และไม่ได้กับหลักอจินไตย ถึงแม้ท่านจะใช้ศัพท์เช่นนั้น เราก็ต้องแปลเยื้องไปให้ได้กับ รูปความในที่นั้น โดยไม่เสียหลักไวยากรณ์ด้วย
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More