การทำโยคะเพื่อบรรลุจตุตถฌาน วิสุทธิมรรค ภาค 2 ตอน 2 หน้า 95
หน้าที่ 95 / 244

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้มีการวิเคราะห์วิธีการทำโยคะเพื่อบรรลุจตุตถฌาน โดยเริ่มจากการตั้งมั่นของจิตในขั้นตอนต่างๆ โดยอ้างถึงบทพระบาลี เช่น "โส เอว์ สมาหิเต จิตฺเต" และวินิจฉัยความหมายของคำต่างๆ เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับความบริสุทธิ์ของจิต ดีใจในความรู้และปัญญาที่ได้จากการปฏิบัติ รวมถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อจิตเป็นการลบล้างราคะและโทสะอย่างมีประสิทธิภาพ เข้าใจลำดับการบรรลุจากปฐมฌานไปจนถึงจตุตถฌานในที่สุด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าถึงจิตอันบริสุทธิ์เพื่อให้สามารถดำเนินตามแนวทางบรมครูได้

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของจิตฺเต
-ลำดับการบรรลุฌาน
-ความบริสุทธิ์ของจิต
-วิธีการทำโยคะ
-ปัจจัยในการบรรลุจตุตถฌาน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๘ - วิสุทธิมรรคแปล ภาค ๒ ตอน ๒ - - หน้าที่ 95 [วิธีทำโยคะ] ก็แลโยคะ ในการทำอิทธะให้สำเร็จนั้น จะพึงทำด้วยวิธีใด พระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแ ทรงแสดงวิธีนั้น จึงตรัสว่า "โส เอว์ สมาหิเต จิตฺเต - ภิกษุนั้น ครั้นเมื่อจิตตั้ จิตตั้งมั่นอย่างนี้แล้ว " ดังนี้ เป็นอาทิ [วินิจฉันคำ โส เอว์ สมาหิเต จิตฺเต เป็นต้น] (ต่อไป) นี้ เป็นคำวินิจฉัยในวิธีนั้น ตามแนวนัยพระบาลีนั่นแล ในบทพระบาลีเหล่านั้น บทว่า "โส" คือพระโยคีผู้บรรลุจตุตถฌาน แล้วนั้น คำว่า "เอวํ" นั่นเป็นคำแสดงขั้นจตุตถฌาน ด้วยคำนี้ เป็นอันอธิบายว่า ได้จตุตถฌานโดยลำดับการบรรลุ ตั้งต้นแต่บรรลุ ปฐมฌานมา บทว่า "สมาชิเต" คือตั้งมั่นด้วยจตุตถฌานสมาธินี้ บทว่า "จิตฺเต" หมายเอารูปาวจรจิต ส่วนในบทที่เหลือมีบทว่า "ปริสุทฺเธ - บริสุทธ" เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า (จิต) ชื่อว่าบริสุทธิ์ เพราะ ภาวะ คือความบริสุทธิ์แห่งสติด้วยอำนาจอุเบกขา ก็เพราะบริสุทธิ์ นั่นเอง จึงชื่อว่า สะอาด อธิบายว่า ผ่องใส ชื่อว่า ไม่มีอังคณะ เพราะความที่อังคณะมีราคะเป็นต้น ถูกจำกัด ไปด้วยความดับแห่งปัจจัยทั้งหลายมีสุขเป็นต้น ๑. หมายถึงจตุตถฌาน ๒. มหาฎีกาขยายความว่า หมายถึงความรำงับไปแห่งสุขโสมนัส และทุกขโทมนัส อัน เป็นปัจจัยแห่งราคะ ทุกข์เป็นปัจจัยแห่งโทมนัส โทมนัสเป็นปัจจัยแห่งโทสะ (ตรงนี้ ปาฐะในมหาฎีกา ตก โทมนสฺสํ โทสสฺส)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More